“CPTPP : เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ?”

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

      “CPTPP” กลายเป็นคำศัพท์ที่ฮอตฮิตและประเด็นร้อนขึ้นมาถกเถียงกันอย่างกว้างขวางของคนในแวดวงเกษตรทั้งนักวิชาการ บริษัทเอกชน แกนนำเกษตรกร รวมถึงถึงองค์พัฒนาภาคเอกชนหรือที่เรียกกันว่า “เอ็นจีโอ”   หลังจากก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลได้มีการเตรียมนำเข้าไปพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ซึ่งปัจจุบันมีประเทศที่เป็นสมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย แคนาดา  ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก  เปรู ชิลี  นิวซีแลนด์ ซึ่งกลุ่มในอาเซียนเราก็มี สิงคโปร์ มาเลเซีย  บรูไน และเวียดนาม

        CPTPP ย่อมาจากคำว่า  Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership แปลเป็นภาไทยคือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ

      ความจริงกว่า 10 ปีหรือราวๆปี 2549 เราได้ยินคำว่า  TPP ที่ย่อมาจากคำว่า Trans-Pacific Partnership มีประเทศสมาชิก 12 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกา เป็นตัวตีตัวตั้ง แต่ตอนนี้สหรัสเมริกาได้ถอนตัวออกไปเมื่อปี 2550  แต่ประเทศสมาชิกที่เหลือตัดสินใจเดินหน้าโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP

     ที่จริงการที่ไทยจะเข้าร่วม CPTPP ก็มีประโยชน์เหมือนกัน โดยการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกที่ไทยยังไม่ลงนามว่าด้วยการค้าเสรี อาทิ แคนาดา และเปรูเป็นต้น ที่มองว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย ที่สำคัญกฎเกณฑ์ที่ CPTPP wfhสนับสนุน ที่ให้ผลดีคือ กฎหมายสิทธิแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างธุรกิจชาวท้องถิ่นและชาวต่างชาติ ซึ่งจะเป็นผลบวกกับไทยในระยะยาว

      ทว่า…ที่กลัว และมีการคัดค้านคือ ในหมวดอุตสาหกรรมเกษตร เพราะ CPTPP มีข้อบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้ ข้อนี้ส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้วจะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น

      นอกจากนี้ไทยจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากแคนาดา อาทิ ถั่วเหลืองและเช่น ปุ๋ย จะเข้ามาตีตลาดไทยหลังการเปิดเสรีด้านการค้า ขณะที่ ธุรกิจอื่นๆ ในไทยก็ต้องเตรียมรับมือกับการรุกตลาดของต่างชาติ เนื่องจาก CPTPP จะเปิดโอกาสทางการแข่งขันให้นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ทั้งจากการลดภาษีสินค้านำเข้า การเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล รวมถึงการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อกิจการท้องถิ่นได้เป็นต้น

        แม้ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประเด็นนี้ชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่การถกถียงยังขยายวงกันอยู่ เพื่อความกระจ่างแจ้งทางสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก   มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจตลาดอุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์และพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของงานวิจัยเมล็ดพันธุ์การเกษตร

         APSA ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2537 โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยยึดมั่นแนวทางเกษตรที่ยั่งยืนทั้งในด้านการผลิตและการค้าเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อประชากรโลก ได้ร่วมกับ สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย จัดสัมมนาในหัวข้อ “CPTPP: เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ?” ในวันที่ 19 มิถุนายน  2563 เวลา 9.00 – 12.00 น.ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพันธุ์พืชใหม่และการปกป้องสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์พืชภายใต้ข้อกำหนดของ UPOV 1991 เพื่อพัฒนาการเกษตรในประเทศไทยตามกลยุทธ์ไทยแลนด์ 4.0

      ทั้งนี้ ในการสัมมนาจะเสริมสร้างความเข้าใจเรื่อง UPOV 1991 ภายใต้กรอบความร่วมมือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP โดยสมาคมฯ ได้เรียนเชิญตัวแทนจากหลายภาคส่วนมาเป็นวิทยากร อาทิ นักปรับปรุงพันธุ์พืช ตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และตัวแทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 

ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ!