โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต
เ่ป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ประเทศไทยได้อนุญาตเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (Genome Editing – GEd) เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชขั้นสูงเพื่อเพิ่มผลผลิตในขณะที่ใช้สารเคมีน้อยลงในอุตสาหกรรมการเกษตร
นาย รพีพัฒน์ ชาญศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การประกาศใช้เทคนิค GEd ให้ถูกกฎหมายภายใต้กฎกระทรวง ได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรแล้ว และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
นาย รพีพัฒน์ กล่าวอีกว่า พืชแก้ไข/ปรับแต่งยีน (พืช GEd) ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) และ พืช GEd ได้รับการอนุญาตในหลายประเทศ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่น ๆ อีกมาก
นาย รพีพัฒน์ มีความมั่นใจว่า GEd จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของประเทศในการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ของเกษตรกรได้ 3 เท่าภายใน 4 ปี นอกจากนี้ประเทศก็จะเป็นศูนย์กลางสำหรับเทคโนโลยี GEd และ วิธีนี้คาดว่าจะนำไปใช้กับสัตว์ได้เช่นกัน ซึ่ง “จะช่วยยกระดับความรู้ด้านการเกษตรของประเทศจนกว่าประเทศจะเป็นศูนย์กลางอาหารของโลกได้” และเสริมว่า ข้าวโพด ถั่วเหลือง และอ้อย จะเป็นพืชเศรษฐกิจนำร่องแห่งแรกของประเทศที่ใช้เทคโนโลยี Ged
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2829832/genome-editing-tech-to-help-boost-yields-at-farms#