อิตาลีเปิดตัวการทดสอบภาคสนามครั้งแรกของข้าวริซอตโต้ที่แก้ไขยีน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิลาน (University of Milan) ได้ริเริ่มการทดสอบภาคสนามของข้าวแก้ไขยีนเป็นครั้งแรกในอิตาลีสำหรับข้าวพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการแก้ไขยีน ที่ชื่อ “RIS8imo” ซึ่งมาจากข้าว Arborio (ข้าวที่มีเมล็ดค่อนข้างสั้น กลม ป้อม มีสีขาวอมเหลืองขุ่น) ของอิตาลี และมักใช้ทำ รีซอตโต (risotto – อาหารอิตาลีชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าวผัดที่มีลักษณะข้นไปด้วยครีมจากการดูดซับไวน์และน้ำซุปจากเนื้อวัว ปลา หรือผักในขณะผัด)

นักวิจัยมุ่งเป้าไปที่ยีน 3 ตัวที่ถูกใช้จากเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคไหม้ในข้าว และนำส่วนเล็ก ๆ ของรหัสดีเอ็นเอออกเพื่อทำให้เชื้อราไม่มีประสิทธิภาพ ชิ้นส่วนดีเอ็นเอขนาดเล็กที่ถูกนำออกจาก RIS8imo จะเพิ่มความต้านทานต่อโรคไหม้ของข้าว ซึ่งเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อธัญพืชอื่น ๆ ทั่วโลก

การทดสอบภาคสนามครั้งใหม่นี้ ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่แปลงปลูกใกล้กับเมืองปาเวีย (Pavia) ในอิตาลี ครอบคลุมพื้นที่ 28 ตารางเมตร ถือเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญในการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพของยุโรป การทดสอบภาคสนาม เป็นผลมาจากความร่วมมือที่ประสบผลสำเร็จระหว่าง Vittoria Brambilla และ Fabio Fornara จากมหาวิทยาลัยมิลาน, Sophien Kamoun จาก The Sainsbury Laboratory (Norwich, UK) และ Thorsten Langner จาก Max-Planck-Institute for Biology ในเยอรมนี

ครับ หลายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแก้ไขยีน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tsl.ac.uk/news/gene-edited-risotto-rice-italys-first-field-trial