ศาลกานายกฟ้องคดีผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ศาลสิทธิมนุษยชนของกานา ยกฟ้องคดีที่นำผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมเข้ามาในประเทศ ส่งผลให้การต่อสู้ในศาลที่ดำเนินมายาวนานถึง 9 ปี ระหว่างหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของประเทศ และ กลุ่มประชาสังคม การตัดสินใจครั้งสำคัญครั้งนี้ ทำให้สามารถส่งมอบถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานหนอนเจาะ Maruca (Maruca pod borer – PBR) ให้กับเกษตรกร

คดีนี้ยื่นฟ้องโดย Food Sovereignty Ghana, Convention People’s Party, Vegetarian Association of Ghana และ Goaso Kanyan Akuafo Kuo ซึ่งเป็นการฟ้องร้องหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (National Biosafety Authority – NBA) และอีก 4 หน่วยงาน

ในคำตัดสินของผู้พิพากษา Barbara Tetteh-Charway เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ศาลเรียกคำฟ้องดังกล่าวว่า ‘red herring’ (ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด) โดยระบุว่าโจทก์ในคำฟ้องไม่สามารถอ้างหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการปลดปล่อยดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อการค้าถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมอย่างไร ในประเทศ.

ศาลสั่งให้ NBA ดำเนินการสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปแนวทางสำหรับการติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม ก่อนที่จะจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกี่ยวกับการนำเข้าถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรม ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ ผ่านทาง Biosafety Clearing House และติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมทั้งหมดในตลาด เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลในการตัดสินใจ

NBA ซึ่งทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drugs Authority – FDA) ได้ออกแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการติดฉลาก GMOs ในประเทศกานาแล้ว แนวปฏิบัติดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด รวมถึง Food Sovereignty Ghana (กลุ่มอธิปไตยด้านอาหารแห่งกานา) ปัจจุบัน FDA กำลังอยู่ในกระบวนการแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปทราบเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเหล่านี้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 หน่วยงานที่มีอำนาจได้อนุญาตให้ปลดปล่อยถั่วพุ่มบีที (PBR Bt cowpea) สู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรกที่ได้รับอนุญาตในประเทศ การพัฒนานี้ทำให้กานาเป็นประเทศที่ 2 รองจากไนจีเรียที่อนุมญาตการปลดปล่อยถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรม ในอีกเหตุการณ์สำคัญ NBA เพิ่งอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรม 14 กรณี (events) เพื่อใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ และการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติประกอบด้วยข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม 8 กรณี  และถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม 6 กรณี

หน่วยงานที่มีอำนาจได้รับรองกับชาวกานาว่า การอนุญาตเพื่อการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมและการนำเข้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเข้ามาในประเทศนั้น ได้ผ่านการทบทวนทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวาง ตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากล “หน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ ยังคงมุ่งมั่นที่จะรับรองความปลอดภัยของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในประเทศกานา ตลอดจนยังคงมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างโปร่งใส ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพปี พ.ศ. 2554 (Biosafety Act, 2011 – Act 831)”

ครับ ประเทศไทยจะมีใครนำเรื่องนี้ขึ้นศาลบ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1kT34ObsRe8R0E__G3hn9zjDRmmRfo0jr/view