เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อชุมชนทั่วโลก และการแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมมีความจำเป็นเร่งด่วนยิ่งกว่าที่เคย ในขณะที่ผู้นำจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่ดูไบ (Dubai) เพื่อเข้าร่วมการเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติที่เรียกว่า COP28 โดยตระหนักว่า มีวิธีแก้ปัญหาที่จับต้องได้มากมายเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ความไม่แน่นอนของตลาดและนโยบายเป็นสิ่งขัดขวางการดำเนินการ

ในบรรดาเครื่องมือที่มีอยู่ เทคโนโลยีชีวภาพกลายเป็นกำลังสำคัญในการบรรลุการบรรเทา การปรับตัว และการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานต่อรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจนถึงการพัฒนาวัสดุจากฐานชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพเป็นหนทางเบื้องหน้าที่จะต่อสู้กับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญ และผู้นำระดับโลกจำเป็นต้องสร้างเส้นทางการตลาดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะเข้าถึงได้

อย่างไรก็ตาม มีหลายขั้นตอนที่ต้องดำเนินการหากต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเต็มที่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในเศรษฐกิจทั่วโลก และตอบสนองต่อความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ

ประการแรกและสำคัญที่สุด คือ รัฐบาลต้องทำงานเพื่อลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้

ฝ่ายบริหารของ Biden (Biden Administration) ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการเปิดตัวการประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติครั้งที่ 5 ขณะนี้การวิจัยนี้ ควรระดมผู้กำหนดนโยบายให้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิ่งจูงใจสำหรับเทคโนโลยีชีวภาพหรือการใช้โครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลเพื่อเร่งการผลิตและการนำผลิตภัณฑ์จากชีวภาพมาใช้

ครับ ประเทศไทยที่เป็นส่วนหนึ่งใน COP28 ควรต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนอไว้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.realclearenergy.org/articles/2023/12/04/bolstering_climate_resilience_the_critical_role_of_harnessing_biotechnology_996713.html