ข้อเสนอการกำกับดูแลการแก้ไขยีนใหม่ของยุโรปมีความซับซ้อนมากกว่าที่คาดหวังไว้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในปี พ.ศ. 2561 ศาลยุติธรรมแห่งยุโรปได้ตัดสินให้วิธีล่าสุดที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมของสหภาพยุโรป ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร European Seed ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (สิงหาคม พ.ศ. 2561) ในหัวเรื่อง: “นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืชพักผ่อนอย่างสงบ (Rest in Peace Plant Breeding Innovation)”

ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สหภาพยุโรปได้เสนอกฎระเบียบใหม่สำหรับเทคนิคใหม่ด้านจีโนม (new genomic techniques – NGTs) ทำให้นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืชในสหภาพยุโรปอาจเริ่มกลับมาอีกครั้ง ซึ่งภาคส่วนการปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของยุโรป ยินดีที่ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการกำกับดูแลที่แตกต่างสำหรับพืชและผลิตภัณฑ์บางชนิดจาก NGT จากกฎหมายว่าด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

แนวทางการกำกับดูแลที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปไม่ได้แยกพืชและผลิตภัณฑ์ NGT ออกจากกฎหมายว่าด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม แต่ถือเป็น ” lex specialis” (กฎที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นจะมีผลเหนือกว่ากฎทั่วไปที่เกี่ยวข้อง) ที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมของสหภาพยุโรป

โดยมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับพืชและผลิตภัณฑ์ NGT และด้วยเหตุนี้จึงสร้างหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์สำหรับพืชและผลิตภัณฑ์ NGT ที่มีลักษณะเหมือนพืชและผลิตภัณฑ์ทั่วไป รวมถึงการปิดกั้นการทำเกษตรอินทรีย์ ที่ใช้พืช NGT ที่มีลักษณะเหมือนพืชทั่วไปที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว

บริษัทปรับปรุงพันธุ์ลงทุนมากถึงร้อยละ 20 ของมูลค่าการซื้อขายในการวิจัยและพัฒนา ที่ต้องพึ่งพาความแน่นอนทางกฎหมายในการลงทุน กระบวนการตรวจสอบจึงควรเป็นไปตามเกณฑ์ที่ชัดเจนและความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศสมาชิก การแทรกแซงใด ๆ ของประเทศสมาชิกหรือคณะกรรมาธิการควรจำกัดอยู่เพียง “ความคิดเห็น” ที่สมเหตุสมผลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น และไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาทางการเมือง

ครับ คงคาดหวังว่าจะมีการกำกับดูแลเหมือนพืชปกติ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://european-seed.com/2023/10/resurrection-of-plant-breeding-innovation-in-the-eu/