โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
บังกลาเทศ เริ่มปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม หรือ ฝ้ายบีที เป็นครั้งแรกในปีนี้ หลังจากได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (National Committee on Biosafety – NCB)
Md Fakhre Alam Ibne Tabib กรรมการบริหารของคณะกรรมการพัฒนาฝ้าย (Cotton Development Board – CDB) ได้ให้สัมภาษณ์กับ Daily Star (สื่อสิ่งพิมพ์) ว่า จะมีแปลงสาธิตจำนวน 168 แปลงบนพื้นที่ 168 เอเคอร์ ใน 13 โซน ได้แก่ เขต Jashore, Chuadanga และ Kushtia ใน ภาคตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตก เขต Rangpur, Bogura, และ Rajshahi ทางตอนเหนือ และเขต Dhaka และ Mymensingh พร้อมด้วยเขตที่อยู่ติดเนินเขา – Khagrachari, Bandarban และ Rangamati – ในภูมิภาค Chattogram
คาดว่า ฝ้ายบีทีจะช่วยเพิ่มผลผลิตฝ้ายของประเทศได้ ซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดที่ 2 ของบังกลาเทศ หลังจากมะเขือม่วงบีทีที่อนุญาตให้ปลูกได้ในปี พ.ศ. 2556 และจากข้อมูลของ ISAAA พบว่า เกษตรกรรายย่อยจำนวน 27,000 รายในบังกลาเทศปลูกมะเขือม่วงบีทีในปี พ.ศ. 2562
ครับ ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมใด ๆ แม้แต่ชนิดเดียว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thedailystar.net/business/news/bangladesh-starts-growing-genetically-modified-cotton-3403576