เคนยาเป็นประเทศที่ 2 ในทวีปแอฟริกาที่เผยแพร่ กำกับดูแลการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

หน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของเคนยา (National Biosafety Authority – NBA) ได้ตีพิมพ์แนวทางการแก้ไขจีโนม ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญต่อการพัฒนากรอบการกำกับดูแลการแก้ไขจีโนมในประเทศต่อจากไนจีเรีย เคนยาจึงกลายเป็นประเทศที่2 สองในแอฟริกาที่เผยแพร่แนวทางดังกล่าว

แนวทางที่ตีพิมพ์ให้ความกระจ่างว่าสิ่งมีชีวิตที่แก้ไขจีโนมและ/หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแก้ไขจีโนม จะถูกกำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพของเคนยา และผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ถูกกำกับดูแลว่าเป็นพันธุ์ทั่วไปหรือพันธุ์จากการปรับปรุงพันธุ์ Dr. Roy Mugiiraรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ NBA อธิบายว่า “แนวทางดังกล่าวจะแนะนำผู้ยื่นคำขอและผู้ตรวจสอบคำขอ ในแนวทางที่จะพิจารณาโครงการวิจัย การทดลอง และการปลดปล่อยผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ของเทคโนโลยีนี้”

ลักษณะสำคัญของแนวทางปฏิบัติคือการจัดให้มีการปรึกษาหารือล่วงหน้าเพื่อกำหนดแนวทางการกำกับดูแลที่จะนำมาใช้ในมุมมองของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของขั้นตอนการแก้ไขจีโนม โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องส่งแบบฟอร์มการปรึกษาหารือล่วงหน้า (Early Consultation Form)กับ NBA โดยให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการทดลองของโครงการและผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายเพื่อพิจารณาว่าควรได้รับการกำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพหรือไม่

แนวปฏิบัติยังมีโครงร่าง ข้อพิจารณาหรือสถานการณ์สมมติสำหรับการกำกับดูแลเทคนิคการแก้ไขจีโนมและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแก้ไขจีโนม ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพหรือไม่ก็ตาม การแก้ไขจีโนมและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแก้ไขจีโนม ที่ไม่ถูกกำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้แก่ การดัดแปลงโดยถ่ายฝากยีนจากสายพันธุ์ที่สามารถผสมโดยใช้เพศ การลบ/การหยุดการทำงานของยีนโดยไม่มีสารพันธุกรรมแปลกปลอมในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย และผลิตภัณฑ์แปรรูปซึ่งไม่สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมแปลกปลอมที่ถ่ายฝากเข้าไปได้ และการตัดสินใจจะทำเป็นกรณีไป

“การตัดสินใจในส่วนของการปรึกษาหารือล่วงหน้าโดย NBA จะแจ้งให้ผู้สมัครทราบภายใน 30 วันทำการ อย่างไรก็ตาม โครงการแก้ไขจีโนมที่ไม่มีข้อมูลที่จำเป็นจะได้รับการกำกับดูแลภายใต้กฎระเบียบความปลอดภัยทางชีวภาพ (การใช้วงจำกัด) ปี ค.ศ.2011” (Biosafety (Contained Use) Regulations 2011) ขอบเขตของแนวทางเหล่านี้ไม่ครอบคลุมถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ที่แก้ไขจีโนม ที่จะดำเนินการอย่างไร

 ครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับใช้ในการกำกับดูแลการแก้ไขยีนและผลิตภัฒฑ์ที่ได้มาจากการแก้ไขยีนในประเทศต่อไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.biosafetykenya.go.ke/images/GENOME-EDITING-GUIDELINES-FINAL-VERSION-25th-Feb-2022-03.pdf