ใช้วิธีพันธุวิศวกรรมด้วยการถ่ายฝากยีนบีทรูทผลิตมะเขือเทศผลสีม่วง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Leibniz Institute for Plant Biochemistry (IPB) ใน Halle (ซื่อเมืองในเยอรมัน) ได้ใช้วิธีพันธุวิศวกรรมเพื่อผลิตมะเขือเทศที่มีผลสีม่วงโดยใช้ยีนจากบีทรูท (beetroot คือ พืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำรากที่อยู่ใต้ดินมารับประทาน)

       นักวิทยาศาสตร์ได้ถ่ายฝากยีนสำหรับสังเคราะห์สารเบทานิน (Betanin เป็นสารที่ให้สีแดง-ม่วง และช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ พร้อมกับป้องกันการเสื่อมของเซลล์ได้ดี) ให้กับต้นมะเขือเทศและกระตุ้นยีนเหล่านี้ให้แสดงออกในผลมะเขือเทศสุก

       สารเบทานินไม่สามารถผลิตขึ้นได้เองในต้นมะเขือเทศ แต่ได้มาจากการถ่ายฝากยีนจากบีทรูท สารนี้มักถูกใช้เป็นสีผสมอาหารตามธรรมชาติ เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระชั้นดี นอกจากนี้ ผลมะเขือเทศสีม่วงที่ผลิตขึ้นยังสามารถใช้เป็นแหล่งของสารเบตานินสำหรับนำมาใช้เป็นสีผสมอาหาร ซึ่งในช่วงแรกมีความพยายามที่จะเพิ่มสีของโยเกิร์ตและน้ำมะนาวด้วยสารเบทานินที่มาจากผลมะเขือเทศซึ่งมีแนวโน้มที่ดี

      การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรมในการผลิตสารที่ใช้เป็นสีผสมอาหารซึ่งในกรณีของสารเบตานิน ได้มีการวางแผนและดำเนินการมาเป็นเวลานาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ตามที่ต้องการในต้นมะเขือเทศ

       นักวิทยาศาสตร์จากเมือง Halle ไม่เพียงแต่ถ่ายฝากยีนที่ใช้ในการสังเคราะห์สารเชิงซ้อนที่จำเป็นจำนวน 3 ยีน เพื่อการผลิตสารเบทานินในต้นมะเขือเทศเท่านั้น แต่ยังมีสวิตช์ (เปิดปิด) ทางพันธุกรรมอีกหลายตัวที่สามารถกระตุ้นยีนที่ถ่ายฝากให้ผลิตสารเบตานินเฉพาะในผลในเวลาที่ผลสุกพอดี

       อย่างไรก็ตาม การผลิตสารเบทานินในผลมะเขือเทศในการศึกษาระยะแรกยังมีน้อย ทีมวิจัยจึงต้องถ่ายฝากยีนที่ 4 เพื่อช่วยให้การสังเคราะห์สารเชิงซ้อนที่ใช้เป็นสีผสมอาหารสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน ผลที่ได้คือมะเขือเทศสีม่วงเข้มที่มีสารเบทานินมากกว่าบีทรูท

      ครับ บ้านเราจะได้ปลูกไหม?

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ipb-halle.de/oeffentlichkeit/aktuelles/artikel-detail/lila-tomaten-durch-farbstoff-aus-der-roten-beete/