เกษตรกรชาวไนจีเรียสุดปลื้มกับการปลูกถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมต้านทานแมลงศัตรู

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       เกษตรกรในเมืองTudun Wada ในรัฐ Kano แสดงความยินดีกับการเปิดตัวของถั่วพุ่มที่ต้านทานหนอนเจาะฝัก(Cowpea Pod Borer Resistant – PBR) พันธุ์ใหม่โดยกล่าวว่าทำให้มีค่าใช้จ่ายในการปลูกไม่แพงเมื่อเทียบกับการปลูกพันธุ์ท้องถิ่น

      เกษตรกรบางคนได้พูดคุยกับสำนักข่าวของไนจีเรีย (News Agency of Nigeria – NAN) ในงาน Brown Field Day ที่ปลูกแปลงสาธิตพันธุ์ถั่วพุ่มพันธุ์ใหม่ (SAMPEA-20-T) ที่มีความต้านทานหนอนเจาะฝัก ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MarucaVarata เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563

       Malam Khalid Salihu หนึ่งในเกษตรกร กล่าวว่า เขามีความสุขกับผลลัพธ์ของพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยชี้ให้เห็นว่ามันคุ้มค่าเนื่องจากต้านทานแมลงที่ทำลายถั่ว

      เขา บอกว่า เขาใช้เวลากับการดูแลรักษาแปลงปลูก ถั่วพุ่มที่ต้านทานแมลงศัตรู (PBR Cowpea) น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการดูแลรักษาแปลงปลูกพันธุ์ท้องถิ่น

      Salihu กล่าวต่ออีกว่า ใน1 เฮกตาร์(6.25 ไร่) เขาประหยัดได้มากกว่า 20,000 N เพาะเขาพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพียง 2 ครั้งซึ่งแตกต่างจากพันธุ์อื่น ๆ ที่เขาต้องพ่นถึง 8 ครั้ง

     “ฉันมีความสุขกับถั่วพันธุ์ใหม่นี้ มันโตเร็วกว่าพันธุ์ท้องถิ่น และในเวลา 56-70 วันเราสามารถเก็บเกี่ยวได้ ไม่เหมือนกับถั่วพุ่มพันธุ์ท้องถิ่นที่จะเก็บเกี่ยวได้ที่อายุ 90 วัน และ ฉันใช้เงินน้อยลงในการซื้อสารเคมี เพื่อควบคุมหนอนเจาะฝักเพราะถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมนั้นมีความต้านทานแมลง”

     ครับ มีประโยชน์เห็น ๆ ต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยกลับละเลยความเป็นจริงนี้

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.environewsnigeria.com/kano-farmers-list-benefits-of-genetically-modified-beans/