โดย…ดร.นิพนธ์ เอ่ี่ยวสุภาษิต
เกษตรกรที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมสามารถเพิ่มรายได้เกือบ 19 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้ 23 พันล้านกิโลกรัมหรือเทียบเท่ากับการลดจำนวนรถยนต์บนถนนในปีนั้น ได้ 15.3 ล้านคัน รายได้ที่สูงขึ้นนี้คิดเทียบเป็นรายได้พิเศษที่เพิ่มขึ้น 4.42 เหรียญสหรัฐ สำหรับการลงทุนในแต่ละเหรียญสหรัฐที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอ้างอิงจากรายงานของ PG Economics
Graham Brookes ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ PG Economics และผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าวว่า “พืชดัดแปลงพันธุกรรมยังคงมีส่วนที่สำคัญต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร และสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลกได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับเกษตรกรรายย่อยที่ยากจนและครอบครัว ที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ให้หลุดพ้นจากความยากจน”
จุดเด่นในรายงานที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร
- เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำการเกษตรได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วยให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติงานที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น ลดการไถพรวน ซึ่งช่วยลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและกักเก็บคาร์บอนในดินได้มากขึ้น ถ้าไม่ได้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 23 พันล้านกิโลกรัมจะถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งเทียบเท่ากับการเพิ่มรถยนต์บนถนนจำนวน 15.3 ล้านคัน
- จากปี 2539 ถึงปี 2561 เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช ลดการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชลงได้ 776 ล้านกิโลกรัม ทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 8.6 ซึ่งเท่ากับ 1.6 เท่าของผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ใช้ในประเทศจีนแต่ละปี เป็นผลให้เกษตรกรที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชลงได้ร้อยละ 19
เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ยอดเยี่ยมสำหรับเกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยี
- ในปี 2561 เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาได้รับรายได้พิเศษเป็นเงิน 4.42 เหรียญสหรัฐ เมื่อลงทุนในเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรมในทุก 1 เหรียญสหรัฐ ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เกษตรกรในประเทศพัฒนาแล้วได้รับรายได้พิเศษ เป็นเงิน 3.24 เหรียญสหรัฐ สำหรับแต่ละเหรียญสหรัฐ ที่ลงทุนในเมล็ดพืชดัดแปลงพันธุกรรม
- ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระดับฟาร์มสุทธิอยู่ต่ำกว่า 19 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 เท่ากับการเพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยที่ 103 เหรียญสหรัฐ / เฮกแตร์ จากปี 2539 ถึง 2561 กำไรสุทธิทั่วโลกของรายได้ฟาร์มอยู่ที่ 225 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่ากับรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 96.7 เหรียญสหรัฐ / เฮกตาร์
เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชมีส่วนทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของโลก และลดการบุกรุกที่ดินผืนใหม่เพื่อการเกษตร
- เทคโนโลยีพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้พัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น ด้วยการควบคุมศัตรูพืชและวัชพืช ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลง (IR) ที่ใช้ในฝ้ายและข้าวโพด ระหว่างปี 2539 ถึง 2561 ซึ่งผู้ใช้เทคโนโลยีนี้ทั้งหมด จะเพิ่มผลผลิตโดยเฉลี่ยร้อยละ 16.5 สำหรับข้าวโพด IR และร้อยละ 13.7 สำหรับฝ้าย IR เมื่อเทียบกับระบบการผลิตแบบดั้งเดิม เกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลือง IR ในเชิงพาณิชย์ในอเมริกาใต้ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 9.4 ตั้งแต่ปี 2556
- มากกว่า 23 ปีของการใช้กันอย่างแพร่หลาย เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชมีส่วนช่วยเพิ่มเติมผลผลิตทั่วโลกของถั่วเหลืองจำนวน 278 ล้านตัน ข้าวโพดจำนวน 498 ล้านตัน ฝ้ายจำนวน 32.6 ล้านตันและคาโนลาจำนวน 14 ล้านตัน
- พืชดัดแปลงพันธุกรรมช่วยให้เกษตรกรสามารถได้ผลผลิตมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น หากเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชไม่สามารถถูกนำไปใช้โดยเกษตรกรในปี 2561 การรักษาระดับการผลิตทั่วโลกในปีนั้น จะต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองอีก 12.3 ล้านเฮกตาร์ พื้นที่ปลูกข้าวโพดอีก 8.1 ล้านเฮกแตร์ พื้นที่ปลูกฝ้ายอีก 3.1 ล้านเฮกเตอร์และ และพื้นที่ปลูกคาโนลาอีก 0.7 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งเทียบเท่ากับต้องการพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 14 ในสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ ร้อยละ 38 ของพื้นที่ปลูกในบราซิล หรือร้อยละ 16 ของพื้นที่ปลูกในประเทศจีน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ Graham Brookes ที่โทร +44 (0) 1432 851007 www.pgeconomics.co.uk