ฮอร์โมนแห่งความสุขในต้นข้าวสำคัญไฉน!

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

An ear of rice which grew heavily turns gold in the autumn rice field

            ผู้เชียวชาญที่ Newcastle University ประเทศอังกฤษ ได้ค้นพบว่า การยับยั้งการสร้าง serotonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข (happiness hormone) ในต้นข้าว จะช่วยเพิ่มความต้านทานแมลงศัตรูที่มีความสำคัญต่อการปลูกข้าว 2 ชนิด คือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และ หนอนกอข้าว

          การยับยั้งดังกล่าวทำได้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า การแก้ไขยีน ภายในต้นข้าวเอง เพื่อหยุดการทำงานของยีนที่สร้าง serotonin นอกจากนี้ยังพบว่า ต้นข้าวยังสร้าง กรด salicylic ในระดับที่เพิ่มขึ้น

           ในมนุษย์ serotonin จะช่วยในการกำกับอารมณ์ ความรู้สึกเจริญอาหาร และช่วยในการนอนหลับและมีความจำที่ดี ในพืช serotonin จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการพัฒนา ในขณะที่ช่วยให้แมลงหาแหล่งอาหารอื่น

[adrotate banner=”3″]

          การวิเคราะห์การตอบสนองของพืชต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรู นักวิจัยพบว่า ทั้ง serotonin และกรด salicylic จะถูกสร้างขึ้น เมื่อมีการเข้าทำลายของแมลง แต่การยับยั้งการสร้าง serotonin จะช่วยให้ต้นข้าวมีความต้านทานเพิ่มขึ้น และเพิ่มระดับของกรด salicylic ในต้นข้าวและเพิ่มความต้านทาน

         ครับ เป็นอีกหนึ่งแนวทางหนึ่งในการสร้างความต้านทานให้กับต้นข้าวได้ อย่างบ้านเราเพลี้ยกระโดดสัน้ำตาล ถือเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวนาไทยอย่างมหาศาล ครับ!

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ncl.ac.uk/press/articles/latest/2018/05/ricepests/#hp-banner