กรมการข้าวแนะเกษตรกรปลูกข้าว “กข 73” สู้ดินเค็มที่เมืองเพชร

  •  
  •  
  •  
  •  

“กรมการข้าว” ถกทุกภาคส่วนที่เกียวข้อง เพื่อบูรณาการแก้ปัญหาดินเค็ม ในฟื้นที่บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หลังจากพบว่า การปลูกข้าวของเกษตรลดลงกว่าร้อยละ 50 แนะชาวนาเปลี่ยนปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ “กข73” ชี้มีคุณสมบัติทนเค็ม ทนลม ไวต่อช่วงแสงได้

นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มที่ีจังหวัดเพชรบุรี ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ว่า กรมการข้าวร่วมกับกรมชลประทานเกษตรจังหวัดและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น หารือร่วมกันถึงการแก้ไขปัญหาดินเค็มในพื้นที่ปลูกข้าวของในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการปลูกข้าว เนื่องดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อการปลูกข้าวมาอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นต่อผลผลิตข้าวในหลายพื้นที่ของประเทศไทยทำให้ผลผลิตข้าวลดลงถึงร้อยละ 50

                                                          สุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์

ทั้งนี้เนื่องจากกว่า ปัญหาดินเค็มนั้น จะส่งผลให้ดินเกาะตัวแน่น เนื่องจากเกลือที่เข้าไปลดพื้นที่ของช่องอากาศภายในดิน ทำให้น้ำซึมลงสู่ดินยาก ส่งผลข้าวที่หว่านไม่เจริญเติบโต ซึ่งจังหวัดเพชรบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ประสบปัญหาดินเค็ม โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านแหลม ที่ประสบปัญหาทั้งด้านน้ำแล้ง น้ำท่วม และดินเค็ม สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในพื้นที่โดยเฉพาะการทำนาข้าว

“ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวพันธุ์กข49 และกข31 แต่เนื่องจากประสบปัญหาดินเค็มและปัญหาลมฝนทำให้ได้ผลผลิตน้อยและต้นข้าวไม่แข็งแรง ขณะนี้กรมการข้าวได้แนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวพันธุ์ กข73 ซึ่งมีคุณสมบัติทนเค็ม ทนลม ไวต่อช่วงแสงได้ และเหมาะกับพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาดินเค็ม” นายสุดสาคร  กล่าว

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวอีกว่า การแก้ไขปัญหาดินเค็มนั้นมีหลายวิธี อาทิ ใช้การชะล้างเกลือด้วยระบบระบายน้ำใต้ดินการทำคันนาขนาดใหญ่กั้นระหว่างบ่อเกลือกับพื้นที่ทำนา ทำร่องน้ำ ดักดินเค็มปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น แกลบปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักหรือการไถกลบตอซังอีกทั้งควรมีการปกคลุมดินหลังปลูกพืชเพื่อรักษาความชื้น และปลูกพืชที่ทนเค็ม

ในโกกาสนี้อธิบดีกรมการข้าว ได้ลงพื้นที่ดูงานแปลงนาที่ประสบปัญหาภัยแล้งและดินเค็มรวมถึงเขื่อนกั้นน้ำระหว่างน้ำเค็มและน้ำจืดที่กำลังประสบปัญหาน้ำเค็มหนุนเข้ามาปะปนกับน้ำจืด ที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย