การแก้ไขยีนเพื่อผลิตนมถั่วเหลืองที่มีกลิ่นหอมเพิ่มมากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Integrative Plant Biology แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขยีน GmBADH1 และ GmBADH2 โดยใช้ CRISPR-Cas12i3 เป็นสื่อกลาง ช่วยปรับปรุงสาร 2-Acetyl-1-pyrroline (2-AP) และกลิ่นของถั่วเหลือง งานวิจัยนี้เป็นการเน้นย้ำถึงศักยภาพของการแก้ไขยีนในการเพิ่มคุณภาพรสชาติของถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นแหล่งโปรตีนและน้ำมันจากพืช อย่างไรก็ตามคุณภาพรสชาติของถั่วเหลืองส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะกลิ่นหอม และในถั่วเหลือง 2-AP เป็นสารประกอบที่ให้กลิ่นป๊อปคอร์น (ข้าวโพดคั่ว) ในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด เช่น นมถั่วเหลือง

ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของนมถั่วเหลืองในส่วนต่าง ๆ ของโลก นักวิจัยตั้งเป้าที่จะปรับปรุงกลิ่นหอมโดยการทำให้ยีน GmBADH1 และ GmBADH2 ในถั่วเหลือง แต่ละตัวหรือทั้ง 2 ตัวหยุดทำงาน และผลการวิจัยไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในเรื่องความสูงของต้น จำนวนวันออกดอก และน้ำหนักเมล็ดทั้งหมด

ครับ นี่คือศักยภาพของการแก้ไขยีนในการเพิ่มคุณภาพรสชาติของถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jipb.13631