โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ในขณะที่วิทยาศาสตร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกาลเวลาที่เปลี่ยนไป François Parcy นักพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ French Center National de la Recherche Scientifique หรือ CNRS กล่าวว่า ชีวิตทุกชีวิตก็มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา และทุกปีมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น 240 ล้านครั้งในแปลงข้าวสาลีที่ปลูกอยู่บนพื้นที่หนึ่งเฮกตาร์ (6.25 ไร่) โดยไม่มีใครที่มีความกังกวลในการกลายพันธุ์ดังกล่าว และ เหตุใดจึงต้องกลัวการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเพียงจุดเดี่ยว ที่สร้างขึ้นในห้องทดลอง ที่มีการควบคุม
ผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้การยอมรับว่า เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการลดการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู โดยใช้เทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์ เช่น การแก้ไขยีน CRISPR ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพภูมิอากาศ
Parcy กล่าวว่า “ทุกวันนี้ มีพืชประมาณ 15 ชนิดเท่านั้นที่ให้พลังงานคิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณแคลอรี่ที่เราบริโภค” และ “พันธุ์พืชมากมายที่หล่อเลี้ยงเราตลอดประวัติศาสตร์ได้ถูกลืมไปแล้ว เป็นเพราะเราจะเก็บเฉพาะสิ่งที่เหมาะกับเราที่สุดเท่านั้น แต่พืชเหล่านี้ได้รับการคัดเลือกตามความต้องการของเมื่อวันวาน ซึ่งไม่มีความยืดหยุ่นมากนักและใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนมาก เราต้องทำให้มีความหลากหลายและปรับปรุงชนิดพันธุ์ที่เพาะปลูกใหม่ตามเกณฑ์ในยุคของเรา และต้องขอบคุณ เทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์ (New Breeding Technique) โดยที่เราไม่ต้องใช้เวลา 3,000 ปี แต่จะใช้เวลาระหว่างหกเดือนถึงสิบปีในการทำสิ่งนี้”
ครับ น่าจะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับกลุ่มสหภาพยุโรป
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.lepoint.fr/environnement/la-revolution-ecolo-des-nouveaux-ogm-02-02-2024-2551335_1927.php#11