มะเขือเทศที่แก้ไขยีนเพิ่มการตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Plant Science แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขยีน SlHyPRP1 และ SlDEA1 ของมะเขือเทศ ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต การศึกษาครั้งนี้ได้ประเมินความแห้งแล้ง ความเค็ม โรคใบจุดมะเขือเทศ และการตอบสนองต่อโรคเหี่ยวมะเขือเทศที่เกิดจากแบคทีเรีย

มะเขือเทศเป็นพืชสำคัญในหลายภูมิภาคและหลายประเทศทั่วโลกมายาวนาน อย่างไรก็ตาม การผลิตมะเขือเทศยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดที่แตกต่างกัน และ การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของยีน SlHyPRP1 และ SlDEA1 ในการตอบสนองต่อความเครียดในมะเขือเทศ ดังนั้น นักวิจัยจึงใช้เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม CRISPR-Cas9 เพื่อปรับปรุงความทนทานต่อความเครียดของมะเขือเทศ

มะเขือเทศที่ได้รับการแก้ไขยีน จะมีระดับคลอโรฟิลล์และโพรลีน (proline) สูงขึ้น ภายใต้สภาวะความเครียดที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต มีการสะสม Reactive oxygen species (ROS) หรือ อนุมูลอิสระ มีจำนวนการตายของเซลล์ต่อพื้นที่ใบทั้งหมดและราก ลดลงภายใต้ความเครียดที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งผลการศึกษานี้ช่วยเร่งการวิจัยในปัจจุบันในการพัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถทนต่อความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ครับ นี่คือศักยภาพของการแก้ไขยีนในพืช

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2024.1304381/abstract