ใช้ CRISPR พัฒนาการควบคุมยีนที่กลายพันธุ์ของพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University – TAU) ของอิสราเอล ได้พัฒนาเทคโนโลยีระดับจีโนมที่ทำให้สามารถเปิดเผยบทบาทของยีนและลักษณะเฉพาะในพืชที่อาจถูกซ่อนไว้โดยการทำงานซ้ำซ้อน (ความซ้ำซ้อน หมายความว่ายีนตั้งแต่สองยีนขึ้นไปทำหน้าที่เดียวกันและการยับยั้งเพียงหนึ่งยีนจะมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อลักษณะที่แสดงออก) เทคโนโลยีนี้คาดว่าจะปฏิวัติการพัฒนาพืชทางการเกษตรและวิธีการปรับปรุงพันธุ์ เนื่องจากสามารถนำไปใช้กับพืชและลักษณะทางการเกษตรส่วนใหญ่ เช่น เพิ่มผลผลิตและต้านทานต่อภัยแล้งหรือแมลงศัตรู

ทีมวิจัยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน CRISPR รวมถึงชีวสารสนเทศและอณูพันธุศาสตร์ (bioinformatics และ molecular genetics) เพื่อพัฒนาวิธีการใหม่ในการค้นหายีนที่รับผิดชอบต่อลักษณะเฉพาะในพืช จากข้อมูลของนักวิจัย แม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ไขพันธุกรรม เช่น CRISPR แต่ความท้าทายหลายอย่างก็จำกัดการประยุกต์ใช้กับการเกษตร

หนึ่งในนั้น คือ การระบุอย่างแม่นยำว่ายีนใดในจีโนมของพืชมีหน้าที่กำหนดลักษณะเฉพาะที่ต้องการเพื่อการเพาะปลูก วิธีการที่ได้รับการยอมรับในการจัดการกับความท้าทายนี้ คือ การสร้างการกลายพันธุ์และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่าง ๆ ของพืช ที่เป็นผลมาจากการกลายพันธุ์

การศึกษาในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อ หาแนวทางแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนทางพันธุกรรมโดยใช้ CRISPR นักวิจัยใช้ CRISPR เพื่อพัฒนาการควบคุมการสร้างการกลายพันธุ์ในพืช เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงการเกษตร และโดยเฉพาะเพื่อเอาชนะข้อจำกัดทั่วไปที่เกิดจากความซ้ำซ้อนทางพันธุกรรม

ครับ ความซ้ำซ้อนทางพันธุกรรมยังเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการสร้างพันธุกรรมใหม่ ๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.aftau.org/news_item/taus-new-genetic-modification-method-can-reveal-role-and-properties-of-duplicated-genes-in-plants/