โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน ได้ให้ความหมายของ Halo effect ว่า เป็นกระบวนการคิดเชิงลำเอียง (Cognitive bias) ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญชาน(การรับรู้) ของบุคลิกภาพหนึ่งก่อตัวขึ้นจากอิทธิพลของอีกบุคลิกภาพเดิมบุคลิกภาพหนึ่งตามขั้นตอนของกระบวนการการตีความหมาย ในกรณีของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่อ้างถึงในเรื่องนี้ ได้ก่อให้เกิด Halo Effect นั่นคือ การคิดว่าได้ส่งผลกระทบที่ดีต่อพืชปกติ เนื้อหาโดยสรุปของเรื่องมีดังนี้
Graham Brookes นักเศรษฐศาสตร์การเกษตรของ PG Economics เป็นผู้เชี่ยวชาญที่โดดเด่นคนล่าสุดในซีรี่ส์ ISAAA Webinar (การสัมมนาผ่านเว็บ) ซึ่งเป็นการบรรยายมุ่งเน้นไปที่รายงานล่าสุดของ PG Economics เกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา
Brookes กล่าวว่า เทคโนโลยีพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังคงมีส่วนช่วยที่สำคัญต่อการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการเกษตรและการจัดหาอาหารระดับโลกในแนวทางที่ยั่งยืนนอกจากนี้ยังช่วยยกระดับเกษตรกรรายย่อยที่ยากจนทรัพยากรรวมทั้งครอบครัวในประเทศกำลังพัฒนา และรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมสูงเกือบถึง19 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 และการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 23 พันล้านกิโลกรัมซึ่งเท่ากับการเอารถยนต์ออกจากถนนจำนวน 15.3 ล้านคัน”
Brookes เน้นถึงผลกระทบของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่เริ่มต้นจากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในพื้นที่เฉพาะ จนถึงการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าไม่เพียงแต่ช่วยเกษตรกรที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว แต่ยังช่วยเกษตรกรที่ปลูกพืชพันธุ์ปกติด้วยเช่นกัน ซึ่งก่อให้เกิด “halo effect” โดยอ้างถึงกรณีของมะละกอที่ต้านทานต่อไวรัสในฮาวายเป็นตัวอย่าง
ด้วยการกล่าวว่าการยอมรับอย่างกว้างขวางในการปลูกมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม จะช่วยลดผลกระทบของไวรัสอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ผู้ปลูกมะละกอที่ไม่ใช่มะละกอดัดแปลงพันธุกรรมยังสามารถปลูกต่อไปได้ โดยได้รับประโยชน์จากการลดปริมาณเชื้อไวรัสในพื้นที่โดยรอบซึ่งจะช่วยรักษาอุตสาหกรรมมะละกอของฮาวาย
การสัมมนาผ่านเว็บใน Zoom ในครั้งนี้ มีผู้ลงทะเบียนจำนวน 1,936 รายทั่วโลกมีการสตรีมพร้อมกันบน YouTube และ Facebook Live และรวมผู้ชมทั่วโลกจำนวน 3,372 คน
ครับ นี่คือประโยชน์ที่ได้รับจริง ๆ จากการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ดูบันทึกการสัมมนาผ่านเว็บได้ใหม่บนช่อง YouTube ของ ISAAA (https://www.youtube.com/watch?v=QzqbXNdFw_A) และรายงานสำหรับการออกข่าวมีให้อ่านได้ใน Science Speaks (http://www.isaaa.org/blog/)