โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
มันสำปะหลังเป็นพืชที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แป้งจากหัวมันนี้ใช้ในการทำไข่มุกเหนียวในชาไข่มุกพุดดิ้งมันสำปะหลังและพบได้ในผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตนที่หลากหลาย
Jessica Lyons นักวิจัยหลักของโครงการแก้ไขจีโนมมันสำปะหลังที่ Innovative Genomics Institute (IGI) กล่าวว่า ประชาชนราวหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกต้องพึ่งพามันสำปะหลังเป็นแหล่งแคลอรี่ที่รวมถึงร้อยละ 40 ของชาวแอฟริกัน
อย่างไรก็ตามมันสำปะหลังมาพร้อมกับปัญหาที่มีอยู่ในตัว คือ ไซยาไนด์ ทางทีมวิจัยจาก IGI กำลังทำงานกับมันสำปะหลังปราศจากไซยาไนด์โดยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม CRISPR เพื่อพัฒนามันสำปะหลังที่ปราศจากไซยาไนด์
นักวิจัยที่ IGI ร่วมกับ Danforth Plant Science Center ได้ใช้การแก้ไขจีโนม CRISPR ในการสกัดกั้นการผลิตไซยาไนด์ เส้นทางการสังเคราะห์ทางชีวภาพของไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง เป็นที่เข้าใจกันดีแล้วและนี่เองที่ทำให้ทีมนักวิจัยได้มีแผนที่นำทางสำหรับการแก้ไขจีโนม
นอกจากนี้นักวิจัยคนอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเส้นทางนี้โดยใช้ RNA interference (RNAi) และสามารถลดระดับไซยาไนด์
Lyons กล่าวว่า การแก้ไขจีโนมนั้นทำได้เรียบร้อยกว่า RNAi แก้ไขได้อย่างสมบูรณ์และทำการเปลี่ยนแปลงจีโนมที่มีทั้งความเสถียรและสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ในทางทฤษฎีแล้วเทคนิคที่ใช้ในการผสมพันธุ์แบบดั้งเดิมนั้นสามารถกำจัดไซยาไนด์ได้ แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลากว่า7 พันปีของการเพาะปลูก
มันสำปะหลังนั้นปลูกจากท่อนพันธุ์ ซึ่งเป็นความท้าทายของการปรับปรุงพันธุ์ในลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะเป็นขยายพันธุ์ของพืชแม่ และ Lyons ได้ย้ำว่า CRISPR นั้นทำได้เร็วกว่าการผสมพันธุ์แบบทั่วไปและมีความแม่นยำมาก
ครับ เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีการแก้ไขยีน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://innovativegenomics.org/news/crispr-cyanide-free-cassava/