การแก้ไขจีโนม-75 นวัตกรรมใหม่ๆ คือแนวทางสู่การเปลี่ยนระบบอาหารที่ยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสภาษิต

       ทีมงานผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติเกือบ 50 คนระบุว่า  75 นวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ และ 8 จุดปฏิบัติการ ที่สามารถช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ คำแนะนำของทีมงานผู้เชียวชาญดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food

       ปัจจุบันร้อยละ 40 ของที่ดินทั่วโลก ใช้สำหรับการผลิตอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิธีการผลิตอาหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่รวมถึงการแก้ไขจีโนม การเกษตรแนวตั้ง พืชตรึงไนโตรเจนที่ไม่ต้องการปุ๋ย การใช้แมลงเป็นอาหารและอาหารสัตว์ และอื่น ๆที่จะต้องเกิดขึ้น

       5 จาก 8 จุดปฎิบัติการ สำหรับการเร่งการเปลี่ยนผ่านระบบอาหารนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่ ความไว้วางใจ การเปลี่ยนความคิด การอนุญาตทางสังคม และการป้องกันผลกระทบที่ไม่ต้องการ จุดแรกมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเชื่อมั่นในผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร ซึ่งรวมถึงเกษตรกร ผู้บริโภค และ บริษัทผู้ผลิตอาหาร พวกเขาจะต้องมีค่านิยมร่วมกันเกี่ยวกับความต้องการผลลัพธ์ของระบบอาหารที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน และข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง

       ครับ สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการสร้างความเชื่อมั่นในผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร ที่มีค่านิยมร่วมกันเกี่ยวกับ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ ๆในอนาคตคต

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wur.nl/en/newsarticle/From-genome-editing-to-insects-Food-System-Innovations-and-how-to-get-there.htm