แถลงการณ์เครือข่ายชุมชนทางวิทยาศาสตร์(เพื่อการเกษตร)ของชาวยุโรป

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (European Court of Justice – ECJ) ได้ตัดสินว่า พืชที่พัฒนาด้วยวิธีการแก้ไขจีโนม หรือการแก้ไขยีน ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นจากตัวกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องจีเอ็มโอ

กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องจีเอ็มโอของสหภาพยุโรปซึ่งออกมาบังคับใช้เมื่อปี 2544 ไม่ได้สะท้อนถึงสถานะปัจจุบันของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และความรู้อย่างถูกต้องอีกต่อไปแล้ว

ข้อความนี้มาจากคำแถลงการณ์สำหรับการใช้การแก้ไขจีโนม เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและการผลิตอาหารในสหภาพยุโรป เป็นคำแถลงการณ์ของเครือข่ายชุมชนทางวิทยาศาสตร์ของชาวยุโรป (European scientific community) ซึ่งแถลงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562

ในแถลงการณ์ดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัย 127 แห่งทั่วยุโรป เรียกร้องให้สถาบันต่าง ๆ ในยุโรปรวมถึงสภายุโรปรัฐสภาแห่งใหม่ของยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปที่กำลังจะเกิดขึ้น ดำเนินการทางกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์และนักปรับปรุงพันธุ์ชาวยุโรป สามารถใช้วิธีการแก้ไขจีโนมหรือยีน เพื่อการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน

ส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์กล่าว ระบุว่า “ความสามารถในการใช้การแก้ไขจีโนมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารของชาวยุโรป”

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยัง ระบุอีกว่า การหมายรวมพันธุ์พืชที่ได้จากการแก้ไขจีโนมให้อยู่ในกฎระเบียบของจีเอ็มโอ จะทำให้ผู้บริโภคชาวยุโรปผู้ผลิตนักวิจัยและผู้ประกอบการ หมดโอกาสเข้าถึงการเกษตรอย่างยั่งยืน

         ครับ แล้วประเทศไทยจะเอาอย่างไร แต่มีข่าวว่า จะเอนเอียงไปทางสหภาพยุโรป

         อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vib.be/en/news/Pages Open%20Statement%20for%20the%20use%20of%20genome%20editing%20for%20sustainable%20agriculture%20and%20food%20production%20in%20the%20EU.aspx