การวิจัยและพัฒนาพืช ให้ใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

                                                                   miscanthus giganteus- elephant grass green energy source

          โดยทั่วไปจะพบว่า ในระหว่างหรือหลังการเก็บเกี่ยว จะมีส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ไม่ได้ถูกเก็บเกี่ยวไปด้วยถูกทิ้งไว้ในแปลง ส่วนที่ทิ้งไว้ดังกล่าวจะมีส่วนที่เป็นโปรตีนไขมันและเส้นใยรวมอยู่ด้วย 

         ศาสตราจารย์ Luisa Trindade ประจำภาควิชาพืชศาสตร์มหาวิทยาลัย Wageningen และฝ่ายวิจัย (Wageningen University and Research – WUR) กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นย้ำว่า “โลกต้องการพืชที่สามารถถูกนำใช้ได้ในทุกส่วนของพืชอย่างเต็มที่จนถึงโมเลกุลสุดท้าย (จนถึงหยดสุดท้าย)”

         Trindade ต้องการเพิ่มมูลค่าของเศษซากพืชและกำลังทำงานกับพืชเส้นใยรวมถึง miscanthus (เป็นหญ้าชนิดหนึ่งและเป็นชื่อสกุล (genus) ของหญ้าที่มีอายุข้ามปี อีกประมาณ 15 ชนิด (species) มีถิ่นกำเนิดในถิ่นกึ่งโซนร้อนของแอฟริกาและเอเซียใต้) กลุ่มวิจัยของเธอได้พัฒนา miscanthus พันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพได้จำนวน 8 สายพันธุ์ ซึ่งได้ถูกนำไปปลูกในที่ต่างๆ จำนวน 10 แห่งในยุโรป คุณสมบัติที่น่าสนใจของ Miscanthus คือ มีผลผลิตที่เป็นมวลชีวภาพสูงและมีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงซึ่งส่งเสริมคุณภาพดิน

        Trindade  ในฐานะผู้ปรับปรุงพันธุ์ ได้เน้นเป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์คือสามารถใช้พืชได้ทั้งหมด หรือทุกส่วนของพืช อย่างไรก็ตามเธอได้กล่าวถึงความซับซ้อนของต้นมะเขือเทศที่มีอวัยวะที่ต่างกัน และมีความแตกต่างกันอย่างมากในองค์ประกอบ โดยเน้นว่า “ในอนาคตเราจะพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศซึ่งจะใช้มวลชีวภาพทั้งหมดเป็นทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร และใครจะรู้ว่าในอนาคตเราจะพัฒนาพันธุ์ที่สามารถทานได้ทั้งก้านและใบ”

          ครับ ในอนาคต เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารก็เพิ่มขึ้น การใช้ทุกส่วนของพืชให้มีประโยชน์ก็มีความจำเป็น งานวิจัยและพัฒนาด้านพันธุ์พืช ก็มีความจำเป็นเช่นกัน

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wur.nl/en/news-wur/Show/Zero-waste-plants.htm