10 อันดับแรกของพืชที่กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

         ทีมวิจัยระดับนานาชาติที่นำโดยมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (University of Minnesota) พร้อมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด(University of Oxford) และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตพืช ที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ และมีผลกระทบในบางภูมิภาคและในประเทศต่าง ๆ พืช 10 อันดับแรก ประกอบด้วย ข้าวบาร์เลย์ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน เรพซีด ข้าว ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง อ้อยและข้าวสาลี ที่ให้ปริมาณแคลอรี่รวมกันร้อยละ 83 ของผลผลิตทั้งหมดที่ปลูกในพื้นที่เกษตร ทีมวิจัยได้ใช้สภาพอากาศและรายงานข้อมูลพืช เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทีมวิจัยได้พบว่า

        1.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการแปรผันของผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญในพืช 10 อันดับแรกของโลกดังกล่าว โดยมีการลดลงของผลผลิตร้อยละ4 สำหรับปาล์มน้ำมันจนถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิตร้อยละ 3.5 สำหรับถั่วเหลืองและทำให้มีการลดลงโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ1 ของแคลอรี่จากอาหารที่บริโภค ที่มาจากพืช 10 อันดับดังกล่าว

        2.ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิต (พืช) อาหารของโลกส่วนใหญ่จะเป็นผลกระทบทางลบในยุโรปอัฟริกาใต้และออสเตรเลียและโดยทั่วไปเป็นผลกระทบทางบวกในละตินอเมริกาและทั้งบวกและลบในเอเชียและอเมริกาเหนือและกลาง

        3.ครึ่งหนึ่งของประเทศที่ไม่มีความมั่นคงด้านอาหารกำลังประสบกับการลดลงของการผลิตพืชและเป็นปัญหากับประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยในยุโรปตะวันตก และ  4.ในทางตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล่าสุดได้เพิ่มผลผลิตของพืชบางชนิดในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาตะวันตกตอนบน

         ครับผลการวิจัยนี้ พอสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบทั้งทางลบและทางบวกต่อการผลิตพืช ซึ่งขึ้นกับชนิดพืช และภูมิภาคและประเทศที่เพาะปลูกพืช

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://twin-cities.umn.edu/news-events/research-brief-climate-change-already-affecting-global-food-production-and-not-equally