พืชดัดแปลงพันธุกรรมต้องพิจารณาในทุกด้าน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

          ในทุก ๆ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ หรือ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะนำไปใช้ในด้านใด ก็สามารถจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น ซึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนี้ เป็นการรับรู้ โดยผู้มีส่วนได้เสียและ / หรือผู้ใช้ปลายทาง

         อย่างไรก็ตาม ก็มักจะมองข้ามไปเหมือนกันว่าการปฏิเสธเทคโนโลยีก็ยังมีความเสี่ยงเช่นกัน ในรูปแบบของการพลาดโอกาสในด้านผลประโยชน์ที่จะได้รับ  ถ้าไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมีการกำกับดูแลและการยอมรับตามกฎข้อบังคับสังคมโดยรวมจะเป็นสังคมแห่งความเจ็บป่วย

          ตัวอย่างเช่นกรณีของพืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) สามารถให้ประโยชน์ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในขอบเขตและอำนาจที่หน่วยงานกำกับดูแลใช้พิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ของพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดต่างๆ พืชดังกล่าวได้รับการอนุญาตให้ใช้สำหรับการเพาะปลูกและได้ถูกนำมาใช้โดยเกษตรกรส่วนใหญ่โดยไม่เคยปรากฏมาก่อนสำหรับเทคโนโลยีทางการเกษตร

            ในทางตรงกันข้ามเมื่อกฎระเบียบมุ่งเน้นไปที่ความเสี่ยงโดยไม่คำนึงถึงบริบทของระบบการเกษตรที่มีอยู่อย่างมีนัยสำคัญและประโยชน์ของพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่นำมาเทียบกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ จะพบว่า เกษตรกร (และสังคม) ส่วนใหญ่จะไม่ถูกนำมาพิจารณาในด้านประโยชน์ที่ได้จากสิ่งแวดล้อมสุขภาพและเศรษฐกิจ ที่เกิดจากเทคโนโลยีนี้

           นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่สูงในการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านกฎระเบียบในหลาย ๆ ประเทศที่นำเข้าพืชอาหารและอาหารสัตว์เป็นจำนวนมาก เป็นตัวจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ของบริษัท ข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาในพื้นที่วงกว้าง สำหรับเกษตรกรในประเทศที่พัฒนาแล้ว

            ครับ กล่าวโดยสรุปว่า ในการพิจารณาความเสี่ยงจากการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม ไม่ได้พิจารณารวมถึงประโยชน์ที่เกษตรกรและผู้บริโภคจะได้รับ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจดังนั้นกฎระเบียบที่ออกมาจึงอาจเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมครับ!

           อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cell.com/trends/plant-science/fulltext/S1360-1385(18)30230-9?_returnURL=https%3A%2F%2Flinkinghub.elsevier.com%2Fretrieve%2Fpii%2FS1360138518302309%3Fshowall%3Dtrue#articleInformation