สถานการณ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศจีนก็ไม่ราบรื่น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

            ท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping  กล่าวว่า จีนมีความสามารถในการบรรลุถึงจุดสูงสุดทางเทคโนโลยีด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว

           อย่างไรก็ตามยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ประเทศจีนไม่ค่อยกระตือรือร้นที่จะไปไกลเกินกว่าสหรัฐอเมริกา นั่นคือ พืชที่ดัดแปลงพันธุกรรม   ก่อนหน้านี้จีนเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีดังกล่าว แต่ปัจจุบันจีนกำลังล้าหลัง เนื่องจากการต่อต้านของประชาชน การใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมถูกจำกัด ให้ทำได้เฉพาะในพืชที่ไม่ใช่อาหาร

           หลังจากหลายปีของความลังเลใจได้มีการคาดการณ์การถึงสภาวะตลาดข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมภายในสิ้นทศวรรษนี้ ในแผน 5 ปีที่ตีพิมพ์ในปี พ. ศ. 2560

            แต่ความคิดเห็นของประชาชนดูเหมือนจะไม่ค่อยเต็มใจ จากวารสาร Nature รายงานว่า ร้อยละ 45 ของชาวจีนคัดค้านพืชดัดแปลงพันธุกรรม และเกือบหนึ่งในเจ็ดเชื่อว่าเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม คือ “การก่อการร้ายทางชีวภาพที่กำหนดเป้าหมายที่ประเทศจีน”

             ด้วยความกลัวที่ว่าชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวอเมริกันจะได้รับประโยชน์จากการที่พวกเขาใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อควบคุมทรัพยากรอาหารจีน

              อ้างอิงจาก James Chen ผู้นำของ บริษัท Beijing firm Origin Agritech จากความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อแผนงานของ บริษัท

              เขา กล่าวว่า “เมื่อเราเห็นรัฐบาลเริ่มให้ความสนใจใหม่ในเรื่องของพืชดัดแปลงพันธุกรรม เราคิดว่าเราน่าจะกลับมาเป็นผู้นำในเรื่องนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความลังเลใจว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจขนาดไหน”

             ครับ เหตุผลที่ใช้ต่อต้านเหมือนกันทุกประเทศ เหมือนกับออกมาจากแหล่งเดียวกันครับ!

             อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.challenges.fr/entreprise/environnement/alimentation-pourquoi-la-chine-recule-sur-les-ogm_626332