อนิสงค์จาก “เจิมปากา” ทำให้น้ำไหลอ่างฯทั่วไทยกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม.เกินขาดหมาย

  •  
  •  
  •  
  •  

กอนช. สรุปอิทธืพลจากพายุ “เจิมปากา” ทำให้มีน้ำไหลลงงในอ่างเก็บน้ำขยาเใหญ่ทั่วประเทศแล้วกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม. สูงกว่าคาดการณ์เกือบ 200 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลอ่างฯเฝ้าระวังน้ำน้อยดีขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนวชิราลงกรณ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากต้นฤดูถึง 700 ล้าน ลบ.ม. ย้ำแผนทุกหน่วยงานเร่งเก็บกักน้ำไว้สำหรับฤดูแล้งหน้าอย่างเต็มที่

     ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เจิมปากา” ในช่วงวันที่ 20 – 27 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา ไม่ได้กระทบต่อประเทศไทยโดยตรง แต่ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งนับว่าส่งผลดีทำให้มีน้ำไหลลงแหล่งน้ำเพิ่มมากขึ้น

    ทั้งนี้ กอนช. ได้ติดตามปริมาณน้ำที่ไหลเข้าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำไหลเข้าจริง จำนวน 2,032.05 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 197.58 ล้าน ลบ.ม. แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ ปริมาณน้ำไหลเข้าจริง 378.26 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 70.25 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง ปริมาณน้ำไหลเข้าจริง 6.58 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 6.69 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำไหลเข้าจริง  277.40 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 51.84 ล้าน ลบ.ม.

    ภาคตะวันออก ปริมาณน้ำไหลเข้าจริง 51.55 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 10.85 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก ปริมาณน้ำไหลเข้าจริง 1,261.49 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 344.88 ล้าน ลบ.ม. ภาคใต้ ปริมาณน้ำไหลเข้าจริง 56.77 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 29.36 ล้าน ลบ.ม.

          ปัจจุบัน (27 ก.ค. 64) มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 4,427.83 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 49.98 ของความจุทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 694.16 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลให้ปัจจุบันระดับน้ำกลับเข้าสู่เกณฑ์ปกติแล้ว นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อยอื่น ๆ ที่มีน้ำไหลเข้าจำนวนมาก ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ มีน้ำไหลเข้า 325.58 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพล มีน้ำไหลเข้า 153.54 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำไหลเข้า 129.01 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งทุกหน่วยงานภายใต้ กอนช. ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยการเร่งเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อใช้เป็นน้ำต้นทุนสำหรับฤดูแล้งถัดไป

      ดร.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า  แม้ว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าแหล่งน้ำจากอิทธิพลของพายุเจิมปากาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ช่วยเพิ่มน้ำต้นทุนให้แก่แหล่งน้ำหลายแห่งที่อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อย แต่ก็ยังมีพื้นที่โดยเฉพาะลำน้ำสายหลักที่มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่ง กอนช.เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของแหล่งน้ำทุกแห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะนี้ด้วย

      พร้อมกันนี้ ยังได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังปัญหาอุทกภัยที่อาจะเกิดขึ้นในพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก-น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออก ช่วงระหว่างวันที่ 28 ก.ค. – 3 ส.ค.นี้ ตามประกาศ กอนช.ฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 27 ก.ค. 64)  รวมถึงพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาน้ำท่วมหลาก น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง บริเวณภาคเหนือตอนล่าง และอีสานตอนบน ให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว