“เฉลิมชัย” ชี้โอกาสทองภาคเกษตรไทยมาถึงแล้ว หลังโควิดคลี่คลาย ย้ำเกษตรกรต้องปรับสู่วิถีใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  

“เฉลิมชัย” ชี้สถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19 ในประเทศไทยคลี่คลายแล้ว  เผยเป็นโอกาสดีของภาคเกษตร ที่ประเทศต่าง ๆ มีการนําเข้าอาหารจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่ภาคภาคเกษตรไทต้องปรับตัวสู่วิถีใหม่ เน้นงานวิจัย และหันมาใช้ เทคโนโลยีในการทําการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรให้มากขึ้น 

      นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเกริกวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2563 เรื่อง “การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การสร้างความสมดุลวิถีชีวิตใหม่กับสภาวะเศรษฐกิจสังคมไทย” ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติ อาคาร ดร.เกริก มหาวิทยาลัยเกริก ว่า จากสถานการณ์ของวิกฤตโควิด 19 ในช่วงปีนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของคน ไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทําให้กิจกรรมการผลิต การขนส่ง ภาคบริการต่าง ๆ หยุดชะงัก แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะแรก ภาคเกษตร ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่ และปัญหาด้านโลจิสติกส์ ขณะนี้สถานการณ์ในประเทศไทยคลี่คลาย จึงเป็นโอกาสดีของภาคเกษตร ที่ประเทศต่าง ๆ มีการนําเข้าอาหารจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสให้ภาคเกษตรปรับตัวสู่วิถีใหม่ ที่จะมีการใช้ เทคโนโลยีต่าง ๆในการทําการผลิตและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร รวมทั้งใช้สื่อออนไลน์เข้าถึง ช่องทางการตลาดได้มากขึ้น

                                                      เฉลิมชัย ศรีอ่อน

     นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทําให้รูปแบบพฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ภาคการเกษตรจึงต้องปรับตัวในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้ 1. การให้ความสําคัญกับกระบวนการผลิตสินค้าที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 2. การค้าออนไลน์จะเปิดโอกาสให้สร้างอัตลักษณ์ของสินค้าของตนเอง โดยสร้างความดึงดูดให้กับสินค้าออนไลน์ สามารถขายสินค้าภายใต้ Brand Name ของตนเอง/ของกลุ่ม/ ของชุมชน ไปยังผู้บริโภคโดยตรงผ่าน Online Market โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือ กับกระทรวงพาณิชย์ 

     3. แรงงานที่กลับคืนถิ่น ใช้ภาคเกษตรเป็นฐานรองรับแรงงาน โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ในการบ่มเพาะเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer และ Young Smart Farmer ใช้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ในการบ่มเพาะผู้ให้บริการทางการเกษตร ทั้งผู้ประกอบการ และStart Up เพื่อให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ให้คําปรึกษาในการลงทุนภาคการเกษตร 4. ภาคเกษตรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ต้องใช้เทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานที่สูงอายุ ทําให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น ระบบเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิต และทําให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและ เครื่องจักรกลสมัยใหม่ รวมทั้งใช้Agri-Map เพื่อจัดทํา Zoning เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งอุปสงค์ และอุปทานของสินค้าเกษตร 

      “รัฐบาลให้ความสำคัญกับงานวิจัย ซึ่งประเทศไทยยังมีความต้องการงานวิจัยทางการเกษตรเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ดังนั้นจึงอยากเห็นงานวิจัยต่างๆ ถูกนำไปใช้ต่อยอด ก่อให้เกิดประโยชน์ พัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการเกษตร โดยงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตใหม่ สามารถลดต้นทุน สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มมูลค่า คุณภาพผลผลิตการเกษตรได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนโยบายต่างๆเพื่อภาคเกษตรไทย อาทิ แนวคิด การตลาดนําการผลิต โดยเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาด ที่สําคัญตามแนวทางนโยบายตลาดนําการเกษตร เพื่อช่วยให้เกษตรกรและผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้า เกษตรออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างสินค้าทางเลือก/พืชทางเลือกใหม่ที่มีศักยภาพให้กับ เกษตรกร การรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่น พัฒนาคุณภาพ สินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงการตรวจสอบ ย้อนกลับและนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต และแปรรูปการประกันภัยพืชผล เป็นต้น” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว

     ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกริกมีการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปีนี้ จัดขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2563 นอกจากนี้มีการบรรยายพิเศษโดยบุคคลสำคัญในวงการการศึกษา คือ ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เป็นต้น ซึ่งงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ประจำและคณาจารย์จากภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นการส่งเสริมการบริการวิชาการสู่สังคมโลกในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาปัจจุบันได้มีส่วนร่วมในการแสดงผลงานทางวิชาการและการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนเพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและมหาวิทยาลัย