โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ตามที่กระทรวงเกษตรในประเทศจีน ระบุว่า จีนได้อนุญาตพันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมจำนวน 37 พันธุ์ และพันธุ์ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมจำนวน 14 พันธุ์ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และเนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของโลก การอนุญาตครั้งนี้จึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเองในประเทศ
โครงการนำร่องสำหรับการปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2564 และขยายการทดลองไปยัง 20 มณฑลใน 5 จังหวัดของจีน ตามรายงานของ Securities Times พื้นที่ที่กำหนดสำหรับการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศจีนยังมีขนาดเล็กมาก ในปีนี้ (พ.ศ. 2566) มีพื้นที่ปลูกเพียง 1.66 ล้านไร่
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการผลิตและผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 12 ตลาดข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมระดับชาติ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 60 พันล้านหยวน หรือ 8.2 พันล้านดอลลาร์
ครับ น่าจะถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้แล้วมั้ง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://farmpolicynews.illinois.edu/2023/10/china-approves-dozens-of-genetically-modified-corn-soybean-varieties-potentially-advancing-production/