ประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชีย “ASIAN SEED CONGRESS 2022” ที่ไทยเป็นเจ้าภาพคึกคัก มีสมาคมร่วมเข้าประชุมกว่า 1,100 คนจาก 50 ประเทศ 4 องค์กรภาครัฐ-เอกชน “APSA- THASTA-สวทช.-กรมวิชาการเกษตร” จับมือประสานเสียงพร้อมเดินหน้าให้ไทยในฐานะศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ระดับภูมิภาคมาก ขึ้นเป้าหมายในการส่งออกให้มีมูลค่าปีละ 15,000 ล้านบาท
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีการประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย “ASIAN SEED CONGRESS 2022” ได้กลับมาจัดที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากห่างหายไป 2 ปี โดยกลับมาอย่างยิ่งใหญ่พร้อมผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,100 ท่าน จากมากกว่า 50 ประเทศ ทั่วโลกที่มาร่วมการประชุมธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ จัดโดยสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ร่วมกับสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) และกรมวิชาการเกษตร ในฐานะคณะกรรมการการจัดงานประจำาประเทศไทย
นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ประธานคณะกรรมการสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค สมาชิกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวสะท้อนถึงช่วงเวลาการดำารงตำาแหน่งประธานคณะกรรมการ APSA ว่า ตลอดระเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ได้เรียนรู้ร่วมกันตลอดว่า การปฏิบัติตามวิถีดั้งเดิมหรือ แบบปกตินั้นไม่สามารถสร้างความยั่งยืนได้ เพื่อให้เราสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตได้นั้น จำาเป็นต้องเข้าใจแนว โน้มและเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมปรับตัวตามเทรนด์เหล่านั้น
นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่ผ่านมางานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย หรือ ASC ในอดีตได้จัด ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (3 ครั้ง) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (2 ครั้ง) และในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เมืองเซี่ยงไฮ้ มาเก๊า เกาสง ประเทศจีน รัฐกัว กรุงนิวเดลลี บังกาลอร์ และไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมืองชิบะและ โกเบ ประเทศญี่ปุ่น กรุงจาการ์ตา และบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย กรุงโซลและอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี และเมือง โฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม
ตัวแทนผู้เข้าร่วมงานมาจากหลายภาคส่วน อาทิองค์กรภาคธุรกิจเมล็ดพันธุ์ หน่วยงานรัฐ สถาบันด้านการวิจัยและ พัฒนา องค์กรด้านนโยบายการค้าเมล็ดพันธุ์ และองค์กรส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายการค้าเมล็ดพันธุ์ที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งพบว่า ความท้าทายและการพัฒนานวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืชในปัจจุบัน (ซึ่งรวมไปถึง เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ พืชแนวใหม่ การปรับแต่งจีโนม และเทคโนโลยีชีวิภาพ) เทรนด์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล การบังคับใช้และการ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองพันธุ์พืช มาตรฐานสุขอนามัยพืชและแนวโน้มทางการตลาด
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านพ้นการเเพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปแล้ว ข้อมูลทางการค้าได้บ่งชี้ถึงความต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพได้เพิ่มขึ้น อย่างมากทั้งจากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและจากนอกภูมิภาค ทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางและหัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์เมืองร้อนระดับโลก
ประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศผู้นำในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ การแปรรูปเมล็ดพันธุ์ และประเทศผู้จำาหน่ายเมล็ด พันธุ์ที่มีคุณภาพ
ด้าน ดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการจัดงานประจำาประเทศไทย กล่าวว่า หากพิจารณาจากจำานวนผู้เข้าร่วมงานจากหลากหลายประเทศทั่วโลก จะเห็นว่า งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่ง เอเชีย ได้พิสูจน์ว่าประเทศไทยพร้อมที่จะต้อนรับทุกท่านอีกครั้งหลังจากสถานการณ์โควิด การจัดงานที่มุ่งเน้นด้าน อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในครั้งนี้จะทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายเพื่อยืนยันสถานะศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ระดับภูมิภาคมาก ขึ้นเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อได้ตามเป้าหมายในการส่งออกให้มีมูลค่าปีละ 15,000 ล้านบาท
ส่วนนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบายศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทย โดยการผลัก ดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำาด้านเมล็ดพันธุ์เขตร้อนระดับโลก โดยมีแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขัน ได้แก่ ข้าวโพดและผัก และแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชอาหารสัตว์ และพืชบำารุงดิน และมี 4 กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อน ดังนี้
1. การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่อย่าง ปลอดภัย พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การตรวจสอบพืช GMOs การจำาแนกพันธุ์หรือศัตรูพืช เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Seed enhancement technology) เช่น การเคลือบเมล็ดหรือการพอกเมล็ดด้วย จุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญของพืชหรือธาตุอาหาร การวิจัยการทำาเกษตรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและ ให้การรับรองระบบการทำาการเกษตรไร้ก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยเพื่อเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมที่มีลักษณะดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้ง conventional breeding และ modern breeding biotechnology เป็นต้น
2. การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบและมาตรการของภาครัฐ ด้วยการแก้ไข ปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครอง พันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ให้ทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงกฎระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับพืชดัดแปรพันธุกรรม และ พืชที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ภายใต้ พ.ร.บ. กักพืช และเร่งรัดการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อกำากับดูแล สิ่งมีชีวิตที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ตามร่าง พรบ. ความหลากหลายทางชีวภาพ และเตรียมพร้อม กฎหมายลำาดับรองเพื่อกำากับดูแลให้ครอบคลุมในทุกกิจกรรมด้านเมล็ดพันธุ์
3. การส่งเสริมการผลิตและการตลาด กรมวิชาการเกษตรมีแผนในการให้การรับรองห้องปฏิบัติตรวจสอบสุข อนามัยเมล็ดพันธุ์ของภาคเอกชน (Seed Health Lab Accreditation) ให้สามารถตรวจรับรองการปลอด ศัตรูพืชในเมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถออกใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) ได้ โดยผ่านระบบบริการออนไลน์ระบบใหม่ของกรมวิชาการเกษตร (NEW DoA-NSW) เกี่ยวข้องกับการนำาเข้า ส่งออก และนำาผ่านของด่านตรวจพืช พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์เพื่อช่วยอำานวยความ สะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผน การผลิตเมล็ดพันธุ์ร่วมกับชุมชนและผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ราคาเมล็ดพันธุ์ที่ยุติธรรมและเหมาะสมสำาหรับ เกษตรกรรายย่อย
4. การสร้างและพัฒนาบุคลากร กรมวิชาการเกษตรมีความร่วมมือระหว่างกับสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยและ ภาคเอกชนอื่น ๆ ในด้านการตรวจสอบคุณภาพและสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบความบริสุทธิ์ทาง พันธุกรรม (Seed purity และ Seed free-GMs) เช่น โครงการทดสอบความชำานาญ (PT) ระหว่างห้องปฏิบัติ การของรัฐและเอกชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (นานาชาติ) เช่น สมาคมเมล็ด พันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) และ สมาคมทดสอบเมล็ดพันธุ์นานาชาติ (ISTA) รวมถึงการฝึก อบรมระหว่างห้องปฏิบัติการของภาครัฐและภาคเอกชน
ขณะที่ ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำานวยการ (ด้านบริหารการวิจัยและพัฒนา) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงบทบาทของ สวทช. ว่า เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Seed Hub โดยการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เกิดการทำางานร่วมกันที่เรียกว่า Seed cluster ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาสวทช. สนับสนุนการดำาเนินงานใน 5 พันธกิจ ดังนี้
1. วิจัยและพัฒนา สร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่เมล็ดพันธุ์ ได้แก่เทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและชุดตรวจวินิจฉัยต่อเชื้อก่อโรคพืชในอุตสาหกรรมผลิตเมล็ด พันธุ์ โดย BIOTECเทคโนโลยีจีโนมในการวินิจฉัย ตรวจสอบ โรคและความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสำาหรับการส่งออก เมล็ดพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีจีโนมในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งช่วยให้ภาคเอกชนส่งออกเมล็ดพันธุ์และพัฒนา พันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC)
2. โครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยบริหารเชื้อพันธุกรรมพืชทั้งในระดับ working collection และ long-term security เช่น National Biobank of Thailand(NBT) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ ม.เกษตรศาสตร์ ,3. พัฒนาบุคลากร ได้แก่ การสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่,4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนและเกษตรกรรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่อง, และ5. สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูลด้านตลาดเมล็ดพันธ์ุ การทดสอบพันธุ์ การทำา Business matching ของภาคเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเอกชนด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมเมล็ด พันธุ์เติบโต และมีความมั่นคงยั่งยืนทั้งระบบ
ทั้งนี้งานสำคัญอย่าง Asian Seed Congress ก็เป็นหนึ่งในเวทีหลักที่จะรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมารวมกัน เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายของภาคส่วนนี้ และด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะคงตำาแหน่งในฐานะ “เมืองหลวง” เมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป สร้างความมั่นใจว่าประเทศจะสามารถยืนหยัดในสถานะของตนในฐานะ ศูนย์กลางการจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชเมืองร้อนชั้นนำาระดับโลกได้ทันท่วงที