โดย…อุทัย สอนหลักทรัพย์
อุทัย สอนหลักทรัพย์
ตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การยางแห่งประเทศไทยเทศไทย พ.ศ.2558 ที่ออกมาในยุครัฐบาลยุค คสช.มาตรา49(1)เป็นหมวดงบประมาณสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใช้บริหาร ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ด้วย ซึ่งงบฯนี้ มีการถกเถียงกันในกรรมาธิการ ว่าใม่พอใช้ แต่ผมในฐานะกรรมาธิการคนหนึ่ง ใด้ให้เหตุผลว่า งบฯบริหารของ กยท. ควรที่จะใช้งบประมาณกลาง โดยใม่ต้องมาเบียดเบียนจากเงินสงเคราะห์ หรือที่เรียกว่าเงิน “ CESS” ของเกษตรกร
ที่จริงนั้นเกษตรกรชาวสวนยางเสียทั้งภาษีที่ดิน ภาษีรายใด้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เหมือนกับพืชอื่นๆแต่ ในส่วนของยางพาราต้องมาถูกเก็บเงิน CESSในการส่งออกยางอีก แม้จะเก็บจากผู้ส่งออก แต่อย่าลืมว่า ผู้ส่งออกจะเป็นผู้ซื้อเป็นหลัก เขาต้อมาคิดที่เกษตรกรชาวสวนยาง เพราะไม่มีทางหรอกที่พ่อค้าจะให้เฉีอนเนื้อตัวให้ขาดทุน ซึ่งตรงนี้ต่างกับพืชอื่นถึงกิโลกรัมละ 2 บาท ทั้งที่ชาวสวนยางขายยางขาดทุน จากภาวะราคายางพาราตกต่ำ แต่ก็ถูกเก็บเพื่อนำมาใช้ในการปลูกแทนยางเก่า ดังนั้นงบฯบริหารจัดการในส่วนนี้ควรที่จะต้องใช้งบฯกลาง จึงจะใม่เป็นสองมาตราฐาน
เหตุผลเพราะ กยท.เป็นหน่วยงานที่เป็นรูปแบบของการส่งเสริมมากกว่าการหารายได้ ฉะนั้นควรที่จะนำเงิน CESS ให้คืนแก่เกษตรกรในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ส่วนงบฯการบริหารควรใช้งบฯกลางจากภาษีที่ชาวสวนยางได้เสียไปแล้ว แต่กลับตรงกันข้ามกับ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศ ที่ออกมาในยุครัฐบาล คสช.ที่มีนายกรัฐมนตรีคนเดียวกันกับรัฐบาลปัจจุบัน
ตั้งแต่ปี2559 กยท.ของบฯกลาง เพื่อบริหารจัดการไป 1,292 ล้านบาท แต่ได้รับการอนุมัติ 600 ล้านบาท ต่อมาปี 2560 ขอไปอีก 2,268 ล้านบาท ให้มาเพียง 200 ล้านบาท ในปี 2561 ขอไป 2,340 ล้านบาท ให้มา 200 ล้านบาท กระทั่งปี 2562 ขอไป1,590 ล้านบาท ให้มาเพียง 150 ล้านบาท
ล่าสุดคือปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้ขอไปน้อยลง คือ1,514.50 ล้านบาท ทราบมาว่า จะให้เพียง 80ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งผิดก้บ พ.ร.บ.กองทุนสวนยาง พ.ศ. 2503 จนถึง พ.ศ.2557 ใม่เคยถูกตัดงบประมาณเลยครับ
ผมในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง ขอเรียกร้องรัฐบาลว่า ใม่ควรตัดงบประมาณมากถึงขนาดนี้ เพราะ เขาและเธอเหล่านั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มาดูแลเรื่องยางพารา จะใด้ไม่หมดกำลังใจที่จะทำงานต่อไป แม้ว่าจะมองใม่เห็นอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร
ตรงแหละครับ ที่ผมต้องทำความเข้าใจว่า กยท.เป็นองค์กรส่งเสริมใม่องค์กรแสวงหากำใรมาบริหาร โปรดเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันครับ และให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรชาวสวนยางที่ยอมเฉือนเนี้อตัวเอง มาให้เป็นเงินกองทุนพัฒนา ตาม พ.ร.บ. กยท. พ.ศ 2558 ที่ คสช.ทำคลอดออกมาแต่ใม่ยอมให้ใช้งบฯกลางจากภาษีเหมือนพืชอี่นๆ แล้วจะให้เกษตรกรยอมให้หัก CESS จึงเหตุและผล ที่เสนอมาครับ
ตอนนี้งบประมาณต่าง ๆรวมถึงงบประมาณของ กยท.ด้วย กำลังอยู่ในชั้นกรรมาธิการแปรญัตติ วาระ2. จึงฝากไว้พิจารณาด้วยครับ