งง!!ข้อมูลและตัวเลขเกี่ยวกับยางพาราของไทย…ฝากไว้กับ กยท.ดูแลแต่ผู้เดียว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย… อุทัย สอนหลักทรัพย์

         เมื่อวันที่14 สิงหาคม 2562 ผมใด้เข้าร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในนามตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางในโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการรับรองการจัดการสวนยาง(ป่าไม้)ในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การที่ไม่หวังผลกำไรภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มต่างๆ จากทั่วโลก หรือที่เรียกว่า FSC  ซึ่งประเทศไทยเรา  ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร และคณะวณศาสตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการรับรองการจัดการสวนยาง(ป่าไม้)ในประเทศไทยให้เหมาะสม

         ในฐานะตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางใด้ขอร้องคณะวิจัยให้คำนึงถึงถึงวิถึชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางเป็นหลักในการแก้ปัญหาโดยขอเสนอการสร้างสวนยางผสมผสาน (แบบ5) ที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นตัวตั้ง เพราะเป็นการสร้างป่าเศรษฐกิจที่รักษาสิ่งแวดล้อมใด้ดี

      ส่วนกฏระเบียบของ FSC บางข้อน่าที่จะต้องทบทวนให้ตรงกับวิถีชีวิตของคนไทย มิใช่เดินตามที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ อียู กำหนดมาอย่างเดียว เพราะขนบธรรมเนียมแตกต่างกันมาก

      ที่สำคัญยิ่ง การที่จะทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับยางพาราในประเทศไทยนั้น ต้องมาจากที่ข้อมูลที่เป็นจริง และถูกต้อง แต่วันนี้หลายอย่างข้อมูลไม่ตรงกัน แม้แต่ภาครัฐด้วยข้อมูลคนละทางกัน และความน่าเชื่อถือที่เราจะนำมาเป็นบรรทัดฐานอยู่ตรงไหน?

       เมื่อเร็วๆนี้ ดร.มนชัย พินิจจิตรสมุทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มกาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใด้วิจัยเรื่องการพัฒนาระบบข้อมูลยางพารา เพี่อการบริหาร ในฐานะที่ผมเป็นตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง จึงให้ข้อมูลในการวิจัย ซึ่งที่ผ่านมาข้อมูลทางราชการใม่ตรงกัน

       เนื่องเพราะทางอนุกรรมาการผลผลิตทางการเกษตรใด้เชิญหน่วยงานไปให้ข้อมูลพื้นที่ปลูกยางในปนะเทศไทย มี 3 หน่วยงานข้อมูลไม่ตรงกัน อาทิ  ข้อมูลของจิสด้า เป็นข้อมูลทางดาวเทียมระบุว่าประเทศไทยมีการปลูกยางมากถึง 32ล้านไร่  ส่วนกรมพัฒนาที่ดินมีข้อมูลระบุว่ามี 30 ล้านไร่  ขณะที่การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ซึ่งดูแลในเรื่องของยางพาราโตงรงกลับมีข้อมูลว่าประเทศไทบมีการปลูกยางพารา  24 ล้านไร่

       ส่วนต้นทุนการผลิตยางของเกษตรกร ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุตัวเลขต้นทุนในการผลิตยางอยู่ที่ กก.ละ 63.65บาท  ส่วน.กรมวิชาการ้กษตรบอกว่าอยู่ที่กก.ละ  63.73บาทใกล้เคียงกัน แต่การยางแห่งประเทศไทยกลับระบุตัวเลขต้นทุนอยู่ที่กก.ละ 54บาท จึงใม่รู้จะยึดหน่วยงานใหนเป็นตัวเลขที่ถูกต้อง

      อีกประการหนึ่ง เมื่อปี2561ทางสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) ได้ถามถึงตัวเลข และมูลค่าในการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางของปี2559 เวลาล่วงเลยเวลาไปเกือบ 2 ปี แต่ใม่สรุปตัวเลข ทาง สยยท.จึงทำหนังสือถาม กยท.เหตุใดจึงใม่มีตัวเลข ได้รับคำชี้แจงเเจ้งให้ไปถามกรมวิชาการเกษตร จนบัดนี้ยังใม่ใด้รับคำตอบนี่เลย

      ดังนั้นทาง กยท.ในฐานะที่ดูแลยางครบวงจรน่าที่จะต้องเป็นผู้รวบรวมตัวเลขที่ถูกต้องแห่งเดียว และควรเผยแพร่ให้สาธารนะชนให้รับทราบโดยทั่วกันครับ!