อย่าปล่อยให้ชาวสวนยางเดินไปตามชะตากรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…อุทัย  สอนหลักทรัพย์

ในวันที่ 4 กันยายน 2561ได้มียางแผ่นดิบเข้าตลาดประมูลในตลาดระยองซึ่งบริหารงานโดยเกษตรกรเพื่อเกษตรกร เกษตรกรจำหน่ายยางแผ่นดิบประมูลได้ราคาสูงกว่าตลาดกการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นเงินที่แตกต่างกันถึง กก.ละ 2.94บาท แต่กระนั้นถึงแม้ว่าที่ตลาดระยอง ได้ราคาสูงกว่าก็จริง ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ราคายางกลับลดลงกว่า วันที่ 3 กันยายน 2561

ตรงนี้จึงพูดได้เต็มปากว่าราคายางลดลงทุกวัน ทางสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.)ได้เรียกร้องให้ผู้รับผิดชอบใด้ออกมาช่วยเกษตรกร แต่ใม่เห็นว่าใด้ผลประการใดเลยต่างโดยสิ้นเชิงกับสมาคมชาวนา ที่ไม่การหักค่าพรีเมี่ยมใดๆ แต่รัฐบาลใส่ใจมากกว่ายางพาราที่ทำเงินเข้าประเทศมากกว่าข้าวถึงสองเท่าตัว ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางรู้สึกผิดหวังต่อความรับผิดชอบของผู้ที่กำกับดูแลยาง

ถ้ามองดูว่าราคายางที่ตลาดระยองซึ่งบริหารงานโดยเกษตรกรใม่ใช้เงินสงเคราะห์ หรือเงินเซสส์ (CESS) มาบริหารแต่ราคายางกลับใด้สูงกว่าในตลาด กยท.ทั้ง  5 ตลาด ที่ใช้เงินCESS เข้าไปบิหาร ทำให้ราคายางรวมที่เกษตรกรได้รับในตลาดระยองนั้น เกษตรกรได้เงินจำนวน 264,655 บาท จากจำนวนยางเพียง91,900 กก. ลองเปรียบเทียบดูว่าผลต่างเป็นอย่างใร

ในวันที่ 4 กันยายน 2561ตลาดกลางระยองราคายางแผ่นดิบ43.25บาท/กก ขณะที่ตลาดของ กยท. ทั้ง 5 ตลาด เฉลี่ยราคายางแผ่นดิบอยู่ที่ 40.31บาท/กก ราคาต่างกัน 2.94บาท/กก

ในวันที่ 5 กันยายน 2561 ราคายางแผ่นดิบเข้าตลาดประมูลตลาดกลางระยอง 43.49บาท/กก ส่วนตลาดกลาง กยท.เฉลียอยู่ที่ 40.34บาท/กก. ตลาดกลางระยองขายยางได้เกินกว่าตลาด กยท.เป็นเงิน 3.15บาท/กก โดยมียางเข้าตลาดระยองจำนวน 58,600 กก.คิดส่วนต่างที่เกษตรกรใด้รับเพิ่มเป็นเงิน178,690บาท

นี่จึงเป็นการยีนยันของ สยยท.ที่อยากเห็นทุกตลาดในประเทศมีราคาที่ใกล้เคียงกันอย่างที่ กยท,เคยให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า จะให้ราคายางตลาดกลางเท่ากันทั้งประเทศ ตอนนี้ สยยท.กำลังรอคำตอบจาก กยท.อยู่ว่า จะเป็นรูปธรรมเมื่อไร

จากการที่ราคายางใม่มีเสถียรภาพในปัจุบันทาง สยยท.ใด้เรียกร้องผู้ที่รับผิดชอบให้ออกมาขับเคลื่อนเพี่อช่วยเกษตรกรชาวสวนยางให้ดำเนินการไปตามพรบ.กยท.มาตรา49(4)ในการรักษาเสถียรภาพราคายางให้เกษตรกรตามที่ใด้ใช้เงิน CESS ที่หักจากเกษตรกรมาบริหสรโดยใม่อาศัยงบแผ่นดินแต่จาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่เขียนไว้เอื้อประโยขน์ต่อเกษตรกรให้พึ่งพาตนเอง  แต่ 3 ปีที่ผ่านมาผมเห็น กยท.มีแต่การประชุมและประชุมๆๆใม่เคยว่างเลยตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมา แต่ใม่เห็น กยท.จะแก้ปัญหาได้เลย

[adrotate banner=”3″]

ลองสังเกตุดูครับ ราคายางพาราใม่ขยับขึ้นเลยตลอด 3 ปี เกษตรกรขายยางในราคาที่ต่ำต้นทุนการผลิตแต่อำนาจของ กยท. ที่ใช้เงิน CESS จ้างเจ้าหน้าที่มาดูแลกลับกล่าวอ้างว่าผู้นำสถาบันเกษตรกรซึ่งทางรักษาการผู้ว่า กยท.เคยเชิญไปประชุมกันสถาบันละ 5 คน  เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561ที่ห้องประชุม กยท.ในการประชุมในครั้งนั้นทางรรักษาการ ผู้ว่ากยท.ให้ผม เป็นคนเชิญทุกสถาบันเว้น คยท.ซึ่งเป็นของ กยท.เขาเชิญเองอยู่แล้ว

ในวันนั้นทุกสถาบันเขาสะท้อนความจริงโดยใม่มีความเกรงใจจึงใด้ข่าวจากคนของ กยท.บางคนออกมาว่า เสียเงินประชุมโดยสิ้นเปลืองเปล่าๆและรักษาการ ผู้ว่ากยท.ใด้เชิญผู้แทนจาก 6 สถาบันมาช่วยแก้ไข พ.ร.บ.มาตรา 49(3)(5)(6)โดยการประชุมยังหาข้อยุติใม่ใด้ และหลังจากนั้น กยท.ก็นำไปดำเนินการเอง

สรุปแล้วมีความรู้สึกว่า  กยท.คงใช้พวกเราจากสถาบันเกษตรกร มาเป็นตรายาง หรือไม่ว่าได้ประชุมแล้วเท่านั้น  และจนบัดนื้ยังใม่เคยเรียก 6 สถาบันเกษตรกรไปประชุมอีกเลย และเพิ่งรับด้ข่าวมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ว่าจะเชิญ 6 สถาบันเข้าประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาที่แก้ใม่ใด้ จึงต้องให้พวกเราเข้าไปแก้ปัญหาแต่ขอเรียนรักษาผู้ว่ากยท.ว่าโปรดอย่าให้ทำอย่างคราวที่แล้วอีก

เนื่องเพราะเงินประชุมก็เป็นของพวกเราที่ถูกหักในการส่งยางออกตามพ.ร.บ.49(6) ซึ่งตั้งแต่มี พ.ร.บ.มาเราใช้เงินประชุมใม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 3 ปีแต่ กยท.เอาเงินมาตรา49(3)(5)(6)มาอ้างว่าทำเพื่อเกษตรกรแล้วเบิกจ่ายกันตลอด 3 ปีประชุมมาตลอด แต่ 6 สถาบันของเกษตรกรขอประชุมกลับอ้างโน่น นี่  นั่น สารพัด แล้วจะแก้ปัญหาให้เกษตรกรชาวสวนยางใด้อย่างใร โดยใม่ยอมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมยกเวันเกษตรกรที่เป็นพวกเดียวกับกยท.เท่านั้น

              ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ยางไทยส่งออกประมาณ 12 ล้านตัน หักเงิน CESS ใว้เท่าไรรัฐบาลน่าจะลงมาดูด้วย เพราะสมาชิก สยยท.ก็เสีย CESS เหมือนกัน  ดังนั้นโปรดอย่าปล่อยให้ชาวสวนยางเดินตามชะตากรรมที่ต้องขายยางขาดทุนมาตลอด 3 ปีแล้วครับ