พาณิชย์ยกทัพบุกพิสูจน์“กาแฟแม่ฮ่องสอน”หวังดันโกอินเตอร์

  •  
  •  
  •  
  •  

        จากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดำเนินโครงการ “เพิ่มศักยภาพเกษตรกรเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทย พร้อมรุกตลาดการค้าเสรี” ด้วยการลงพื้นที่พบปะเกษตรกร พร้อมจัดสัมมนา “การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี”ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อให้เกษตรกรเห็นโอกาสที่จะทำการค้ากับประเทศที่ลงนามว่าด้วยการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย โดยหวังที่จะสามารถขยายการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปสู่ตลาดโลก พร้อมให้การแนะนำเกษตรกรยุคใหม่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานตามสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น

       ล่าลุดลงพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ จ.แม่ฮ่องสอน พบว่าในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน มีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรมากมาย ทั้งผลิตภัณฑ์จากงา ถั่วเหลือง ถั่วหลายเสือ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้าพื้นเมือง และที่น่าสนใจและกำลังมาแรงคืออาแฟที่มีเกษตรรุ่นใหม่หรือสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ มีการดำเนินครบวงจรทั้งแต่ต้น กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่สามารถสร้างแรนด์ให้กับตัวเองได้ และมีโอกาสที่จะใช้ประโชน์จากเขตการค้าเสรีได้นอนาคต

      นายประจวบ  อาจารย์พงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน บอกว่า ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ส่วนอาชีพเกษตรที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากที่สุดคือกระเทียม ถั่วเหลือ ถั่วลายเสือ งา และล่าสุดคือกาแฟอาราบิก้า กำลังเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่มีเกษตรปลูกตามดอยต่างๆ 7 กว่า 5,000 ครัวเรือน ในพื้นที่กว่า 2.7 หมื่นไร่ บนดอยทั้ง 7 ดอยที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเทปานกลางตั้งแต่ 800 – 1,600 เมตร มีการเปปรูปและเริ่มมีการสร้างแรนด์เอง ถือเป็นกาแฟระดับพรีเนี่ยมเนื่องจากพื้นที่เหมาะสม   

       ขณะที่ น.ส.บุณิกา แจ่มใส่ ผู้อำนวยการวำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมไปสัมผัสและชมกิจการของเกษตรกร ในครั้งนี้ บอกว่า จากการที่ได้พบกับเกษตรกรพบว่าการแปรรูปกาของแม่ฮ่องสอนน่าสนใจ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ตลาดต้องการสูงมาก จึงมาแนะนำให้เกษตรกรได้ทีความรู้ช่องทางในการที่จะให้ประโชยน์จากเขตการเสรีที่ไทยทำกับประเทศต่างๆถึง 18 ประเทศ อย่างที่ไปดูกาแฟ “วัน ออฟ  คอฟฟิ่” พบว่า เกษตรรุ่นใหม่มึความตั้งใจเป็นอย่างมาก และถือเป็นผลิตภัณพ์ที่มีอนาคตด้วย (ฟังคลิป)