กรมหม่อนไหม ชู “พินิจ แก้วพิมาย” สุดยอดเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่สามารถทำได้แบบครบวงจรตั้งแต่
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิ จารณาคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่ งชาติ สาขาในสาขาต่างๆ เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวั ลในงานพระราชพิธีพื ชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวั ญประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้ องสนามหลวง เพื่อยกย่องชูเกียรติแก่ เกษตรกรผู้ที่มีผลงานโดดเด่นให้ เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะ ตลอดจนเป็นการให้ความสำคั ญและสร้างขวัญกำลังใจกับเกษตรกร
ทั้งนี้กรมหม่อนไหมก็ได้พิ จารณาคัดเลือกเกษตรกรสาขาอาชี พปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อเข้ารับพระราชทานโล่รางวั ลดังกล่าวในปีนี้ โดยเกษตรกรผู้ที่ผ่านการคัดเลื อก คือ นายพินิจ แก้วพิมาย เป็นเกษตรกรสาขาอาชีพปลูกหม่ อนเลี้ยงไหม ในพื้นที่ที่บ้านดงบัง ตำบลดงบัง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิผลงานแต่เดิม ครอบครัวนายพินิจ ทำอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาตั้ งแต่รุ่นบรรพบุษ จึงได้เรียนรู้จากช่วยแม่เลี้ ยงไหมตั้งแต่ตอนเรียนชั้ นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำให้ซึมซับ จนรู้สึกชอบและผูกพันธ์
จากความคุ้นเคยและเรียนรู้จากที่ เคยช่วยแม่ทำสั่งสมประสบการณ์ จนกระทั่งอายุ 20 ปี ก็เริ่มหันมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าเองแบบจริงจัง จนสามารถทำได้แบบครบวงจรตั้งแต่ ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ ปลูกหม่อนเลี้ ยงไหมสาวไหมและทอผ้าไหมในพื้นที่ 2.5 ไร่ ด้วยความใส่ใจในการดูแลแปลงปลู กหม่อนตั้งแต่การใส่ปุ๋ยบำรุงดิ นให้น้ำตัดแต่งกิ่งตามหลักวิ ชาการที่ได้รับคำแนะนำจากกรมหม่ อนไหมทำให้ได้ผลผลิตใบหม่อนทั้ งพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์สกลนครถึงปีละ 8 ตัน โดยยึดเป็นอาชีพหลักมาจนถึงปั จจุบันรวม29 ปีแล้ว
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย
พันจ่าเอก ประเสริฐ กล่าวอีกว่า นายพินิจ มีผลงานโดดเด่น ในสาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยได้รับรางวัลมากมาย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศรองอันดับ 2 ประกวดเส้นไหมสืบสาวมือประเภทบุ คคลในงานตรานกยูงพระราชทานสื บสานตำนานไหมไทยประจำปี 2557 จากกรมหม่อนไหม รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับจังหวัดกิจกรรมคัดเลื อกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ ยงไหมประจำปี 2558 จากกรมหม่อนไหมรวมทั้งรางวั ลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาอาชี พปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในปี 2567
ปัจจุบัน นายพินิจ มีสินค้าผ้าไหม ได้รับใบรับรองแสดงเครื่ องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้ าไหมไทยชนิด Royal Thai Silk (นกยูงสีทอง) Classic Thai Silk (นกยูงสีเงิน) และ Thai Silk (นกยูงสีน้ำเงิน) จากกรมหม่อนไหม โดยยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” เน้นผลิตผ้าไหมตามคำสั่งซื้อ โดยลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ อำเภอคอนสาร โดยใช้เส้นไหมที่ผลิตเองทั้งหมด จึงสามารถลดต้นทุน ควบคุมคุณภาพของผ้าไหมที่ผลิ ตและสามารถบริหารจัดการผลผลิ ตได้ตามความต้องการของตลาด รวมทั้งทำการตลาดออนไลน์ โดยการโพสต์ขายผ่านทางเฟสบุ๊คอี กด้วย ทำให้มีรายได้ต่อเนื่องตลอดทั้ งปีในปี 2565 มีรายได้จากการปลูกหม่อนเลี้ ยงไหม 334,000 บาท และในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 577,000 บาท
นอกจากนี้ นายพินิจ เป็นผู้มีจิตอาสา มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุ มชน เช่น เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง “Smart Farmer” ด้านการปลูกหม่อนไหมมีความรอบรู้ ในกระบวนการผลิตหม่อนและไหม มีความสามารถในการวิเคราะห์ เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิ ตและการตลาด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คำนึงถึงคุณภาพของสินค้ าผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุ มชนกลุ่มทอผ้าไหมและเลี้ยงไหม ตั้งแต่ ปี 2555 จนถึงปัจจุบันและเป็นอาสาสมั ครเกษตรกร สาขาหม่อนไหมอาสา เปิดบ้านเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้ งภาครัฐ สถานศึกษาและเอกชน และผู้สนใจอีกด้วย
นายพินิจ กล่าว่าว่า ก่อนหน้านี้เคยทำนาและปลูกถั่ วเหลืองมาก่อน แต่จากที่เห็นบรรพบุรุษรุ่นพ่ อแม่เลี้ยงไหมเป็นอาชีพมาตั้ งแต่สมัยเด็กๆ และคิดว่าหม่อนก็เป็นพืชเศรษฐกิ จ และเมื่อปลูกแล้วก็มีรายได้ดี พอเลี้ยงดูครอบครัวได้ ที่สำคัญเป็นอาชีพในพระราชดำริ ของพระพันปีหลวงจึงอยากสืบสานต่ อไปยังคนรุ่นหลัง เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึ งปลายน้ำในทุกกระบวนการจากการสั่งสมประสบการณ์ถึงปัจจุ บันนี้ผมอายุ 50ปี แล้ว โดยได้ต่อยอดพัฒนาอาชีพการปลู กหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม แบบครบวงจรในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนก็เป็ นวิธีการที่ปลอดภัยเพราะไม่ใช้ สารเคมีใดๆตลอดกระบวนการโดยใช้ แต่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก และใช้ฟางข้าวคลุมแปลงเพื่อรั กษาความชุ่มชื้นและสร้างความอุ ดมสมบูรณ์ของดิน
ส่วนของการเลี้ยงไหมก็มี การวางแผนการจัดการตั้งแต่เริ่ มเตรียมความพร้อมโรงเรือนและอุ ปกรณ์ก่อนการเลี้ยงที่ถูกต้ องตามหลักวิชาการ และวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้ องเหมาะสมตามสุขลักษณะทำให้ได้ ปริมาณรังไหมและเส้นไหมที่มีคุ ณภาพ และมีจำนวนมาก จะเห็นได้จากผลผลิตในการเลี้ ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสม(พันธุ์ J108×นางลายสระบุรี)จำนวน 10 รุ่นรุ่นละ 1-2 แผ่นสามารถผลิตเส้นใหม่ได้ 52 กิโลกรัมและการเลี้ยงไม้พันธุ์ ไทยพื้นบ้าน(พันธุ์นางสิ่ว× นางตุ๋ย)จำนวน 5 รุ่นรุ่นละ 1 แผ่นสามารถผลิตเส้นใหม่ได้ 8.5 กิโลกรัมมีผลผลิตดักแด้จำนวน 270 กิโลกรัม
นอกจากนี้ก็คิดต่อพั ฒนานำเทคโนโลยีเข้ามาช่ วยในการสาวไหม เช่น การติดมอเตอร์ที่เครื่ องสาวไหมทำให้สาวไหมได้เร็วขึ้ นก่อนดักแด้จะกลายเป็นผีเสื้ อออกมาเจาะรังไหมทำให้เสียหาย และได้เส้นไหมที่มีคุณภาพ มีความสวยงาม มีขนาดสม่ำเสมอ สะอาดและมีสีสันสดใส เพราะใช้สีจากวัสดุธรรมชาติ ในการย้อมเส้นไหมเช่น ใช้ใบไม้และเปลือกไม้ในท้องถิ่ นโดยไม่มีการตัดหรือทำลายต้นไม้ เมื่อนำไปทอจึงออกมาเป็นผ้ าไหมที่สวยงามและมีคุณภาพ
โดยในรอบการผลิตที่ผ่ านมาสามารถผลิตผ้ าไหมหางกระรอกจำนวน 240 เมตรผ้าขาวม้าไหมจำนวน 28 ผืนผลิตผ้าไหมชุด(ผ้าไหมพื้น+ผ้ าไหมมัดหมี่)จำนวน 6 ชุดผลิตผ้าไหมพื้นจำนวน 45 เมตรโดยมีการวางแผนในการทอผ้ าให้ได้สัปดาห์ละ 200 เมตร
นอกจากนี้ยังสามารถนำสิ่ งของเหลือใช้ในกระบวนการผลิตเส้ นไหมมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ่ มค่า เช่น การนำมูลไหมมาหมักเป็นปุ๋ย นามดักแด้มาประกอบอาหารนำน้ำ จากการสาวไหมไปใช้รดพืชผั กสวนครัว ใช้น้ำขี้เถ้ามาลอกกาวไหมและมี การทำบ่อสำหรับทิ้งน้ำ ลอกกาวไหมและน้ำย้อมสีเส้ นไหมเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษ
อีกเรื่องที่นายพินิจให้ ความสำคัญ คือ การส่งเสริมให้อาชีพการปลูกหม่ อนเลี้ยงไหมเป็นที่แพร่หลายในชุ มชนโดยเผยแพร่ความรู้ให้กั บสมาชิกและเยาวชนในชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้ างทายาทสืบสานอาชีพการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้าไหม เพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้และสื บทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในอาชี พของคนในชุมชนให้เกิดความยั่งยื นสืบไป การได้รับคัดเลือกให้เป็ นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานโล่รางวั ลในงานพระราชพิธีจรดพระนังคั ลแรกนาขวัญประจำปี 2567 ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นเกียรติ และเป็นความภาคภูมิใจแก่ ตนเองและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอยืนยันว่าจะรักษาและสื บสานอาชีพการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมและทอผ้าไหมให้คงอยู่ สืบไป