กาแฟไทยไม่ธรรมดา เมล็ดพันธุ์กาแฟ “อะราบิกา” ผลิตแบบกึ่งแห้ง จากเกษตรกรจังหวัดน่าน ขายได้กิโลกรัมละ 23,000 บาท ในงานประมูลสุดยอดกาแฟไทย ปี 2565 จัดโดยกรมวิชาการเกษตร หลังจากผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟเข้าร่วมประมูลคึกคัก ทำให้ยอดขายได้กว่า 8 แสนบาท ชี้อุตสาหกรรมกาแฟไทยยังมีโอกาสเติบโตทั้งตลาดในประเทศและส่งออก
นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประมูล 10 สุดยอดกาแฟไทย ปี 2565 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ชั้น 1 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร ว่า ปัจจุบันกาแฟของไทยมีพัฒนาการกระโดดก้าวไปไกล ทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐาน และการตลาด
ในการประกวด 10 สุดยอดกาแฟไทย ปี 2565 นี้ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟระดับประเทศมาร่วมทดสอบรสชาติกาแฟ และคัดเลือกเมล็ดกาแฟที่เป็น 10 สุดยอดกาแฟไทยใน 4 ประเภทอย่างพิถีพิถัน ได้แก่ กาแฟโรบัสต้า กาแฟอะราบิกาประเภท Dry Process, Wet Process และ Honey Process ซึ่งทั้งหมดถือเป็นต้นแบบที่ดีของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกาแฟไทย โดยนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานในพิธีรับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมมอบเงินรางวัลและประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ชนะการประกวด
.
การจัดการประกวดสุดยอดกาแฟเป็
นไปตามนโยบายของนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ที่ต้องการรณรงค์ส่งเสริมให้
เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟตระหนักถึ
งความสำคัญของการจัดการสวน การผลิตกาแฟตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำตลอดห่วงโซ่การผลิต ถือเป็นการยกระดับคุ
ณภาพกาแฟไทยให้มีอัตลักษณ์
ของกาแฟเฉพาะถิ่น คุณภาพดีเป็นที่ยอมรับในระดั
บสากล พร้อมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ และความยั่งยืนแก่เกษตรกร
ปัจจุบันกาแฟถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแบบก้าวกระโดดได้ โดยก่อนหน้านี้ราคาเมล็ดกาแฟอาจจะถูกมาก แต่ปัจจุบันราคาเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพและผ่านกระบวนการผลิตแล้วนั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงมาก เช่นในปีนี้ที่มีการประมูลกันมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 23,000 บาท ซึ่งเป็นกาแฟอะราบิก้า กระบวนการผลิตแบบกึ่งแห้ง (Semi-Dry / Honey Process) ของเกษตรกรจากจังหวัดน่านที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดในประเภทนี้
ทั้งนี้ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกให้ความนิยมดื่มกาแฟ ในประเทศก็มีการนำเข้าเมล็ดกาแฟเป็นมูลค่าสูงทุกปี จึงเห็นได้ว่ากาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคต และเป็นพืชที่เกษตรกรสามารถปลูกน้อยแต่สร้างรายได้ที่มากได้แน่นอน หากเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการผลิตของพืชชนิดนี้
.
ด้าน นายธีรวัฒน์ วงศ์วรทัต นายกสมาคมกาแฟและชาไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการการจั
ดงานประมูล 10 สุดยอดกาแฟไทย ปี 2565 กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่
า ได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟ โรงคั่ว และผู้สนใจ เข้ามาร่วมประมูลเมล็ดกาแฟที่
ได้รับคัดเลือกเป็น 10 สุดยอดกาแฟไทย ปี 2565 ใน 4 ประเภท รวมทั้งสิ้น 40 รายการ คิดเป็นมูลค่าการประมูลรวมกว่า 8 แสนบาท
สำหรับเมล็ดกาแฟอะราบิกา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทกระบวนการผลิตแบบกึ่งแห้ง (Semi-Dry / Honey Process) ของนายวิชัย กำเนิดมงคล เกษตรกรจากจังหวัดน่าน ซึ่งได้ cupping score 87.29 ได้รับการประมูลมีมูลค่าสูงที่สุด คือกิโลกรัมละ 23,000 บาท ในขณะที่กาแฟอะราบิกาแบบเปียก หรือ Wet / Fully Wash Process มีมูลค่าการประมูลสูงสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 3,050 บาท ส่วนกาแฟอะราบิกาแบบแห้ง หรือ Dry Process มีมูลค่าการประมูลสูงสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 5,050 บาท และกาแฟโรบัสต้า มีมูลค่าการประมูลสูงสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 5,500 บาท โดยรายได้ที่ได้จากการประมูลทั้งหมดนี้ ผู้ประมูลจะจ่ายตรงให้กับเกษตรกรโดยทางผู้จัดกิจกรรมโดยจะไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการประมูลสูงสุด