เริ่มแล้วผลิตอุปกรณ์ทางด้านการจราจรจากยางพาราส่งให้หน่วยงานรัฐที่จันทบุรี ใช้วัตถุดิบไปแล้ว 200 ตัน

  •  
  •  
  •  
  •  

เริ่มเป็นรูปธรรมแล้ว โครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ เพื่อผลิตอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา ล่าสุด “มนัญญา” นำทีมไปเยี่ยมชมการผลิตหลักนำทาง ของสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน ก้าวแรกของจันทบุรีที่ใช้ยายาฃสดวันละกว่า 360 กก.ใช้ไปแล้วกว่า 200 ตัน เพื่อส่งให้กรมทางหลวงชนบท ลูกค้ารายใหญ่

      วันที่ 18 มิถุนายน 2563 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย คณะที่ปรึกษา และนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมกระบวนการสาธิตการผลิตหลักนำทางของสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จำกัด ต.จันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

        นางสาวมนัญญา  กล่าวว่า  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ และ กรมทางหลวงชนบท ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้จะเป็นการซื้อน้ำยางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยางผ่านสหกรณ์การเกษตร เพื่อร่วมมือในการนำอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา ได้แก่ แผ่นธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางจากยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สำหรับนำไปใช้ประโยชน์เป็นอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยในหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม

        ทั้งนี้เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน และส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง มุ่งหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนช่วยเหลือที่สำคัญในการผลักดันให้ราคา และกลไกลตลาดยาง เพื่อยกกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางไทย ให้สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง และสร้างความมั่นคงทางอาชีพอย่างยั่งยืน ซึ่งเบื้อต้นได้รับข่าวที่น่ายินดีว่า ราคามีการปรับราคาดีขึ้นถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญและสร้างกำลังใจให้กับเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ

        สำหรับสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จำกัด มีกำลังการผลิตเฉลี่ยวันละ 19 ต้น ต่อวัน สหกรณ์ฯ ดำเนินการผลิตไปแล้วประมาณ 200 ต้น ต้นทุนการผลิตประมาณ 1,200 บาท/ต้น ใช้น้ำยางข้นในการผลิตประมาณ 19 กิโลกรัม/ต้น โดยมีขั้นตอนดังนี้

       1.ผสมน้ำยางข้นขึ้นและสารเคมีภัณฑ์ขึ้นรูป, 2.นำน้ำยางพาราใส่แบบพิมพ์,3.นำเสายางพารางเข้าตู้นึ่ง,4.นำเข้าตู้อบแห้งผลิตภัณฑ์, และ 5.นำเสายางเข้าสู่พาราโบล่าโดม โดยขั้นตอนกระบวนการผลิตจะนำน้ำยางข้น เข้าเครื่องผสมกับสารเคมีตามสูตรการผลิต เป็นการผสมเพื่ออัดแน่น ฉีดเข้าแม่พิมพ์ นำเข้าเตานึ่งประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า แล้วนำเข้าเครื่องอบแห้ง 25 ชั่วโมง

      ส่วนตลาดปลายทางที่สำคัญ คือ กรมทางหลวงชนบท โดยกระทรวงคมนาคมดำเนินการรับซื้อผลิตภัณฑ์ และนำไปติดตั้งในพื้นที่ต่างๆต่อไป ปัจจุบันมีสถาบันเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจยางพารา 661 แห่ง มีสมาชิกสหกรณ์ที่ประกอบอาชีพสวนยางพารารวม 355,181 ราย มีสมาชิกในครัวเรือนที่ได้รับผลประโยชน์ จำนวน 1.42 ล้านราย ในปีการผลิต 2562/63 มีปริมาณน้ำยางพารารวม 475,058 ตัน มูลค่า 16,998 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57 จากผลผลิตทั้งหมดของสมาชิก