ดลมนัส กาเจ
จากวิถีชีวิตที่เกิดมาในดงตาลโตนดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้ชาวบ้านในคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ใช้ประโยชน์จากต้นตาลมาต่อยอดเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวจากรุ่นแล้ว รุ่นเล่า เริ่มจากนำผลสดมาขาย ทำน้ำตาล ขนมตาล ใช้ใยตาลทำเป็นเชือกเรือ ผูกสัตว์เลี้ยง มาวันนี้คนรุ่นใหม่ใช้ใยตลาทำเป็นกระเป๋าสารพัดขายทั้งในและต่างประเทศในนาม “กลุ่มโหนดทิ้ง” ที่หมู่ 4 ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา สร้างรายเพิ่มอีกปีละ 4 ล้านบาท
“บัณฑิต หนูเพชร” เป็นประธานกลุ่มโหนดทิ้ง เล่าว่า ในคาบสมุทรสะทิ้งพระกินพื้นที่ 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา มี อ.สทิงพระ รัตภูมิ ระโหนด และสิงหนคร เป็นดงตาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีทั้งหมดกว่า 2 ล้านต้น ถือเป็นพืชเศรษฐกิจดั่งเดิมที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะใน อ.สทิงพระ อำเภอเดียวมีรายจากต้นตาล หรือตาลโตนด ปีละกว่า 250 ล้านบาท มาจากผลิตอาหารที่มีรายได้มากที่สุดคือน้ำตาล ทั้งน้ำตาลแว่น น้ำตาลทรายแดง น้ำปีบ (เหลว) ผลผลิตจากผลสดที่ส่งไปยังมาเลเซียด้วย
บัณฑิต บอกว่า รายได้ในจำนวนนี้ มีรายได้มาจากการต่อยอดจากใยตาล (ใช้เฉพาะก้านใบ) มาทำเป็นกระเป๋าขายในประเทศไทย และส่งออกไปยัง กัมพูชา ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวีย์ และเวียดนามด้วย เฉพาะในนามของกลุ่มโหนดทิ้ง มีรายเพิ่มขึ้นในส่วนนี้ตกปีละ 4 ล้านบาท ล่าสุดกำลังเล็งตลาดในตะวันออกกลางซึ่งถือว่าเป็นที่มีกำลังซื้อมากพอสมควร สังเกตุจากลูกค้าตามห้างสรรพสินค้าใหญ่อย่างสยามพารากอน ลูกค้าชาวอาหรับมาเยอะพอสมควร
“พวกเราเกิดมาก็เห็นบรรพบุรุษส่วนใหญ่ยึดอาชีพที่ต่อยอดมาจากต้นตาลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในด้านของกินหรืออาหารทั้งหวาน และคาว มีทั้งน้ำตาล ขนม ผลตาลสด ผลอ่อนมาแกง ทำเชือกผูกเรือ ผูกวัว ควายที่มาจากใยตาล จึงมาคิดว่า ใยตาลน่าจะมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีความแข็งมาก เลยมาต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์จากใยตาล มีกระเป๋าใยตาลประกอบโครงไม้ตาล ,กระเป๋าใยตาลประกอบหนังแท้,.ประเป๋าใยตาลถัก,โคมไฟใยตาล,กล่องทิชชู่ ,หมวกใยตาลถัก, กล่องเอนกประสงค์ ที่ขายดีที่สุดและเป็นที่รู้จักกันคือประเป๋า ขายกันในราคาตั้งแต่ 300 บาท ยันถึง 8,000 บาท” บัณฑิต กล่าว (รายละเอียดในคลิป)