เปิดใจนักการเมืองรุ่นใหม่”เชง”ธัญญ์นิธิ ชวรัตน์นิธิโชติ ผู้สานฝัน“ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์”

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…กอง บก.เกษตรทำกิน

       “คนดอนเมืองที่ได้เปรียบชาวบ้านในเรื่องทำเลที่ตั้ง ก็จะได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยว ซึ่งตรงนี้หากว่าผมได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของพี่น้องชาวดอนเมือง ผมก็พร้อมที่จะเป็นแกนกลางประสานการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาพื้นที่ของเรา ขอให้เชื่อมั่นในตัวผมครับ”

 

          หลังจากที่เซียนพระชื่อดังระดับแนวหน้าของประเทศไทย “เช็ง สุพรรณ” หรือ เชง ”ธัญญ์นิธิ  ชวรัตน์นิธิโชติ” ได้คลุกคลีกับวงการเมืองในฐานะช่วยงาน “อี้ แทนคุณ” ในพื้นที่เขตดอนเมืองมานานแล้ว ทำให้เขารู้ถึงปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดี แต่ด้วยเป็นโอบอ้อมอารีย์ รับปากแล้วทำได้ทุกอย่าง  มีจิตอาสา พาชาวดอนเมืองไปร่วมกิจกรรมต่างๆมากมาย ทั้งการฝึกอาชีพ และกิจกรรมด้านศาสนา ทำให้มีความคุ้นเคยกับชาวดอนเมืองเป็นอย่างดี จนกลายเป็นความผูกพันธ์กับชุมชนจึงเป็นที่มา ที่จะเนรมิตให้ดอนเมืองเป็นเมือง ภายใต้โครงการ” “ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์” (Don Muang Destination Town) หรือ เมืองจุดหมายปลายทางที่ดอนเมือง ที่มีทุกอย่างสำหรับนักช้อปปิ้งทั้งผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น อาหาร ที่พักผ่อน นวดสปา อาหารการกิน แหล่งท่องเที่ยว และที่พัก

            วันนี้ ธัญญ์นิธิ “เชง” (คุณแม่เรียกชื่อนี้) วัย 39 ปี ถือเป็นคนรุ่นใหม่ ได้กระโดดเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติเป็นครั้งแรกในชีวิต ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ เบอร์ 11 พรรคประชาธิปัตย์ ทำให้เขามีความหวังว่า หากได้รับความไว้วางใจจากชาวดอนเมือง สิ่งที่วาดฝั่นที่จะปั้นดอนเมืองเป็นเมืองจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว หรือ “ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์” จะประสบความสำเร็จและเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น

            ธัญญ์นิธิ “เชง” เล่าถึงที่มาแห่งความคิดโครงการ“ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์” (Don Muang Destination Town) ว่า เกิดมาจากที่ได้คลุกคลีอยู่กับชุมชนชาวดอนเมือง จึงเห็นปัญหาด้านปากท้องหรือความเป็นอยู่ของชาวดอนเมืองที่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข็มแข็งพอ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องของปากท้องของชาวบ้านเป็นอันดับ 1 จึงมองว่าจะทำอย่างไรให้คนดอนเมืองที่ยังไม่เข้มแข็ง ได้อยู่ดีกินดี ให้คนเหล่านี้ยืนหยัดขึ้นมา ช่วยเหลือพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต เป็นความคิดก่อนเข้าสู่วงการเมือง จนมีโอกาสมาเล่นจึงมองว่า ถ้านักการเมืองโอกาสที่พลักดันสู่เป้าจะง่ายขึ้น ส่วนคนอีกกลุ่มนึงที่เก่งแล้ว แข็งแรงแล้ว ก็ต้องก้าวต่อไปอีกระดับนึง นี่คือวิธีการที่จะใช้ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้กับคนดอนเมือง ที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากที่สุด

          สำหรับแนวทางในการดำเนินการนั้น คือ1.ต้องเขียนแอปพลิเคชั่น Don Muang Destination Town ที่เขื่อมโยงข้อมูลร้านค้า ที่พัก อาหาร ของที่ระลึก สปา นวดแผนไทย แหล่งท่องเที่ยว ของดีดอนเมือง ฯลฯ แค่คลิกเดียวนักท่องเที่ยวจะได้รับข้อมูลทุกอย่าง

         2.ใช้ social network และสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆให้เป็นประโยชน์ ทำการประชาสัมพันธ์ โดยที่ต้องมีแผนโปรโมทอย่างดี เช่น ป้ายในสนามบิน นิตยสารในเครื่องบิน เพื่อให้คนที่มาถึงสนามบิน หยิบจับมาโหลดได้เลย อันนี้ก็จำเป็น อาทิ แผนที่ แผ่นพับ สำหรับคนที่โหลดไม่เป็น หนังสือดอนเมือง Guidebook มีอะไรน่าสนใจ พักที่ไหน กินอะไร สุดท้ายคือความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และเรื่องอำนวยความสะดวกครับ โดยทำเบอร์ตรง หรือ ปุ่มในแอปพลิเคชั่น หรือ line@  ของดอนเมือง เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว แบบครอบคลุมทุกช่องทางเทคโนโลยีวันนี้ ทำทุกอย่างที่ผมคิดได้เลยทันที ไม่ยากเลย

        3.เร่งเสริมสร้างการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆพร้อมจัดฝึกอบรมให้เข้มแข็ง มีคุณภาพถูกใจผู้ซื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของกลุ่ม ต้องเข้าถึงผู้ซื้อได้ง่ายและมีจำนวนคนเห็นมาก มีพื้นที่แสดงสินค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ออนไลน์ เริ่มจากการสร้างเฟสบุ๊คให้คนรู้จักพวกเรามากขึ้น ถ่ายภาพสวยๆ เอากิจกรรมต่างๆมาลง จับสินค้าต่างๆมาแต่งตัวสวยหล่อ เล่าเรื่องราววิถีชีวิตคนดอนเมือง ของกลุ่ม

       4.หาช่องทางระบายสินค้าในท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า เอาทเล็ท โอท็อป (Outlet Otop)  ต้องมี เพราะพื้นที่ของดอนเมืองมีสนามบินดอนเมือง มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเกือบ 40 ล้านคน/ปี เป็นข้อได้เปรียบพื้นที่อื่นอย่างมหาศาล  เพราะฉะนั้นต้องมาบูรณาการความคิด หาวิธีปฏิบัติที่จะดึงนักท่องเที่ยวเหล่านี้ให้ใช้เวลา2-3 ชั่วโมงหรือยิ่งนานก็ยิ่งดีในพื้นที่ดอนเมือง ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินไปที่อื่น มาแวะเดินตลาด100 ปี ริมคลองเปรมประชากร หรือจะมาเดินช้อปที่ศูนย์รวมสินค้าโอท๊อปทั่วไทยที่ใหญ่ที่สุด Outlet ในดอนเมือง / หรือช่องทางออนไลน์

        กระนั้นสินค้าที่จะได้เข้ามาตรงนี้ ต้องผ่านการอบรม พัฒนาสินค้าให้ถึงจุดที่จะขายได้แน่นอนถึงจะได้เข้าจำหน่ายตรงนี้ได้  จุดนี้จะทำให้กลุ่มต่างๆ ได้รวมตัวกันเพื่อพัฒนาและยกระดับสินค้าของตนเองได้ นี่เป็นตัวอย่าง ถ้าทำได้ก็จะเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่หมุนเวียนคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยเป็นหมื่นล้านบาทต่อปี

“คนดอนเมืองที่ได้เปรียบชาวบ้านในเรื่องทำเลที่ตั้ง ก็จะได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยว ซึ่งตรงนี้หากว่าผมได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของพี่น้องชาวดอนเมือง ผมก็พร้อมที่จะเป็นแกนกลางประสานการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาพื้นที่ของเรา ขอให้เชื่อมั่นในตัวผมครับ” ธัญญ์นิธิ “เชง” กล่าว

        เขา บอกว่า การทำงานสไตล์ผม ธัญญ์นิธิ “เชง”นั้น ต้องมีการตั้งวัตถุประสงค์ก่อน โครงการ ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์ เขาตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า จะมีนักท่องเที่ยวที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในโซเซี่ยลมีเดีย (social media) หรือสื่อต่างๆ ในปีแรก มาเที่ยวดอนเมืองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ล้านคน

     “ อย่าเพิ่งทำหน้าไม่เชื่อผม ตรงนี้ทำได้จริงๆครับ ความสำคัญจะอยู่ที่คอนเท้นต์ที่เราสร้างขึ้นมา ต้องเป็นเรื่องราวที่ทุกคนอ่านแล้วต้องสะดุดครับ ต้องมาร่วมกัน ผมขอเน้นว่าเราร่วมกันนะครับ มาสร้างเนื้อหาที่ใช่ ที่โดน กระตุ้นให้คนเกิดความอยาก ความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องแวะเที่ยวดอนเมืองก่อน ต้องแวะชิมแวะช้อป มาคิดกันหลายๆคนครับ แล้วเราจะได้คอนเท้นต์ที่ดีที่สุด ที่เป็นของพวกเรา ทำโดยพวกเรา..เกิดแน่ครับโครงการนี้ ผมมั่นใจ” เขา กล่าวอย่างมั่นใจ

        ธัญญ์นิธิ “เชง” บอกอีกว่า หลังจากที่ได้เนื้อหาที่ร่วมกันคิดร่วมการทำนั้น ไปเสิร์ฟให้กลุ่มเป้าหมาย ให้เห็นเยอะๆที่สุด ง่ายที่สุด เปรียบเทียบเป็นของกินก็คือ หน้าตาน่ารับประทานที่สุด อร่อยที่สุด แถมยังกินง่ายที่สุดอีกด้วย สื่ประชาสัมพันธ์เหล่านี้ต้องมีบนก็สนามบินดอนเมือง สนามบินต่างๆของประเทศไทย บนเครื่องบิน รวมสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ รวมทั้งโซเวี่ยล มีเดียต่างๆด้วย สิ่งเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก ถ้าช่วยกัน คนเก่งคนเข้าใจต้องมา”นำ”  มาช่วยกันประคับประคอง คนที่ยังไม่เก่งไม่เข้าใจ ให้มีแนวคิด เกิดจินตนาการที่จะสร้างรายได้ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเหนื่อย เอาเศรษฐกิจดิจิทัลมาร่วม เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ รู้จักประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสร้างอาชีพ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนั่นเอง

         “โรงแรมต่างๆ ก็ต้องมีส่วนร่วมนะครับ ด้วยการสนับสนุน ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์ นักท่องเที่ยวต้องสามารถสั่งของกิน สินค้าโอท็อป ได้จากห้องพักเลย แล้วใช้ มอไซด์รับจ้างแต่งตัวดีๆ มีบัตรแสดงตัวที่ชัดเจนไปส่งถึงโรงแรมที่พักเลย ตรงนี้เราจะทำให้สินค้าขายง่ายขึ้น ไวขึ้น พี่ๆมอไซค์มีรายได้มากขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวเค้ามีเวลาไม่เยอะที่จะเที่ยวหมด ต้องให้เกิดการซื้อขายในห้องพัก ต้องมีช้อปปิ้งบุ๊ค( shoppingbook” ในห้องพักด้วย แล้วให้ สั่งสินค้าได้เลย มาส่งทันที”

       ผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขตดอนเมือง เล่าว่า ที่ผ่านมาทำไมโครงการนี้ถึงยังไม่มีใครพูดถึง สิ่งที่ขาดไปในอดีตคือ เราขาดแกนนำที่เข้าใจภาพรวม รู้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับดอนเมือง ที่จะรวบรวมคนรักดอนเมืองเข้ามาด้วยกัน อย่างลืมว่าบ้านของใคร เราต้องมาช่วยกันคิด มาร่วมสร้างสรรค์ดอนเมืองให้เป็นอีกหนึ่งเมืองเอกของเมืองไทย  ชาวบ้านในชุมชนอาจจะคิดแล้ว ลองทำกันแล้ว แต่เสียงยังไม่ดังพอ ที่จะดึงคนเก่งๆที่พร้อมจะมาช่วยกันสร้างดอนเมือง ให้เข้ามาช่วย ซึ่งคนเก่งๆเหล่านี้มีจำนวนมากที่อยากทำอยากเริ่มอยากร่วม แต่ไม่ทราบว่าจะเรื่มที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่

 

        ดังนั้นจึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้ เชิญชวนทุกท่านทำการบ้านให้โครงการ ดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์ เป็นพันธกิจ เป็นวาระเร่งด่วนของชาวดอนเมืองที่จะต้องมาร่วมกันสร้างให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา

       “ครับ..ผมธัญญ์นิธิ “เชง” ชวรัตน์นิธิโชติ ผู้สมัครผู้แทนราษฏร พรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 11 พร้อมที่จะทุ่มเท อาสาทำหน้าที่แกนกลางประสานงาน เพื่อสร้างย่านปลายทางที่ดอนเมือง หรือดอนเมือง เดซทิเนชั่น ทาวน์(Don Muang Destination Town”ให้เกิดขึ้นจริงในเร็ววันนี้ครับ!!! ถ้าสนใจเริ่ม ร่วม สร้าง ดอนเมืองให้ก้าวไกลไปด้วยกัน มาร่วมกันกับผมได้ที่เฟสบุ๊คของผม ธัญญ์นิธิ เชง ชวรัตน์นิธิโชติ นะครับ มาเลยครับ มาเติมแรงใจ ไล่ตามฝัน ก้าวหน้าไปด้วยกัน กับธัญญ์นิธิ “เชง” ชวรัตน์นิธิโชติ เบอร์ 11ครับ”

        อย่าลืมครับ วันที่ 24 มีนาคม 2562 ไปใช้สิทธิ์ ใช้เสียงของท่านด้วยการไปลงคะแนนเลือก ส.ส.ในเขตพื้นที่ของท่านด้วยครับ!