กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ บูรณาการร่วมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมและกรมการท่องเที่ยว ประผลสำเร็จอย่างงดงาม หลังนำคณะผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงจำนวน 22 บริษัทเข้าร่วมงาน Hong Kong International Film & TV Market 2019 (FILMART) ณ เมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 18 – 21 มีนาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่าได้รับการตอบรับด้วยดีจากบรรดานักลงทุนผู้สร้างโดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียทั้งในด้านของการทำ Co-Production การเป็นพันธมิตรทางการค้าเพื่อเป็นตัวแทนซื้อขายภาพยนตร์และการส่งต่องานด้าน Post Production ให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสร้างประมาณมูลค่าเจรจาการค้ารวมกว่า 1,600 ล้านบาทจากจำนวนการเจรจา 558 คู่ธุรกิจ
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตรปลัดกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่าหลังนำคณะผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจบันเทิงเดินทางไปเจรจาการค้าในงาน Hong Kong International Film & TV Market 2019 (FILMART) ณเมืองฮ่องกงที่ผ่านมาปีนี้ประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งจากบรรดานักลงทุน ผู้สร้าง ในธุรกิจบันเทิงกลุ่มตลาดเชียเป็นอย่างสูงเนื่องด้วยความพร้อมของประเทศไทยในหลายๆด้านเช่นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมประกอบกับความแข็งแกร่ง ในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยเราเองที่มีประสบการณ์และทำการตลาดร่วมกับกรมฯมาอย่างยาวนานพร้อมเดินทางไปเปิดตลาดการค้าที่สำคัญๆในหลากหลายภูมิภาคทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือและการยอมรับในตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ภายในงานได้เกิดการลงนามสัญญาที่สำคัญจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท เฮโลโปรดักส์ชั่น จำกัดได้ลงนามสัญญาเพื่อทำ Co-Production สร้างความร่วมมือกับ บริษัท Han Media (HK) Culture Company Limited จากเมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลิตซีรีย์เพื่อเผยแพร่ทั้งในไทย และจีน มูลค่าเจรจาการค้ากว่า 100 ล้านบาท และ บริษัท ฮอลลีวู้ด (ไทยแลนด์) จำกัดลงนามสัญญา บริษัท AirSpeed Pictures จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง The Lake มูลค่าเจรจาการค้ากว่า 60 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัท วิชเทรน ประเทศไทยจำกัดได้ลงนามสัญญากับบริษัทจากประเทศฝั่งยุโรปเพื่อจัดจำหน่ายสารคดีจำนวน 2 เรื่องไปยังทั่วโลก
นอกจากนี้ บริษัทเบนีโทนฟิล์มส์จำกัดได้เจรจาการค้ากับบริษัท Reality Distribution Field จากแคนาดา ตกลงเลือกสถานที่ถ่ายทำในประเทศไทยเพื่อเข้ามาถ่ายทำซีรีย์ภายหลังเสร็จสิ้นจากจบงาน FILMART ทันทีส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการตัดสินใจเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย จากมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยและด้วยมาตรฐานการทำงานในระดับสากลจึงทำให้บริษัทกันตนาซาวด์สตูดิโอจำกัดได้รับความไว้วางใจจากบริษัท CBM จากจีนเป็นบริษัทที่มีคอนเทนต์จากสถานีช่อง CCTV ทั่วโลกซึ่งเป็นสถานีของจีนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเตรียมส่งงานจำนวนมากมาทำ Post Production ด้านเสียงในประเทศไทยบริษัทเดอะมั้งค์สตูดิโอจำกัดได้เจรจาการค้ากับบริษัทแอนิเมชั่นจากเกาหลีใต้เพื่อรับงาน Outsource และบริษัทซันเดย์สทิลเวิร์คกิ้งจำกัดได้พบกับผู้ค้ารายใหม่จากอินเดียและฟิลิปปินส์เปิดตลาดซื้อขายภาพยนตร์ไทยเป็นครั้งแรก
เป็นที่น่าจับตามองว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นโทรทัศน์และสารคดีไทยเริ่มได้รับความสนใจจากประเทศคู่ค้ารายใหม่นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการเปิดประตูการค้าจากภาครัฐและเอกชนไทยเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอาเซียนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตลอดจนเพิ่มขีดในการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจบันเทิงไทยบนเวทีการค้าโลกอย่างยั่งยืน