โดย…ดลมนัส กาเจ
หลังจากที่จังหวัดอุดรธานีประกาศยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด 6 ยุทธศาสตร์ 24 กลยุทธ์ และโครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ 2 เพื่อสร้างอุดรธานีให้เป็นเมืองสมุนไพร ภายใต้”โครงการเมืองสมุนไพรจังหวัดอุดรธานีระเบียงเศรษฐกิจ 4.0” นั้น หลายพื้นที่ได้มีการปลูกสมุนไพรกัน โดยเฉพาะของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาเมืองไทยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่หมู่ 10 ถนน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ดูเหมือนจะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและมีการผลิตสมุนไพรส่งให้โรงพยาบาลในพื้นที่ และอีกส่วนหนึ่งแปรรูปและจำหน่ายเอง แต่กระนั้นยังประสบปัญหาด้านการตลาด
ล่าสุดกรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสภาพเกษตรกรแห่งชาติ จัดโครงการ “การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี ครั้งที่ 1” ณ จังหวัดอุดรธานี เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อมุ่งพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรรวมถึงพืชสมุนไพรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยหวังที่จะต่อยอดการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ (FTA)
ในโอกาสนี้ นางสาวบุณิกา แจ่มใส่ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า กรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าทีม ได้คณะไปเยี่ยมกิจกรรมการปลูกพืชสมุนไพรภายใต้โครงการ”เมืองสมุนไพรอุดรธานีระเบียงเศรษฐกิจ 4.0 ” ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาเมืองไทยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อหาช่องทางในการที่ขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยอาศัยและใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ นั่นเอง
นางสาวบุณิกา ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทาง กรมเจรจาฯ ร่วมกับ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงพื้นที่ตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ โดยที่แรก คือ อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่มุ่งเน้น คือ สมุนไพร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีสรรพคุณทางยารักษาโรค ถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ซึ่งในส่วนเกษตรกรเองยังคงต้องการองค์ความรู้ เพื่อจะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมถึงการส่งเสริมด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่กระนั้นเกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ทางกมเจรจาการค้าฯจะช่วยอีกทางหนึ่งโดยเฉพาะด้านการตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพราะปัจจุบันประเทศยกเลิกกำแพงภาษีการค้ากับหลายประเทศที่นอกเหนือไปจากกลุ่มประเทศในอาเซียนด้วยกันที่เรียกว่าเขตปลอดภาษีทางการค้าหรือเอฟที่เอนั่นเอง
ด้านนายจีรศักดิ์ ศรีเพชร ผู้อำนวยการกลุ่มงานกำกับและดูแลพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุดรธานี บอกว่า ทางจังหวัดอุดรธานีได้รับงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้เพิมจากการเกษตรทั่วไปเน้นไปที่ขมิ้นชั้นและไพร โดยมีโรงพยาบาลในจังหวัดอุดรนีรองรับด้านการตลาดนำไปใช้รักษาผู้ป่วยในรูปแบบของแพทย์ทางเลือกและอีกส่วนหนึ่งแปรรูปเอง ซึ่งปัจจุบันมีหลายกลุ่มที่ดำเนินการไปแล้ว อย่างที่สาหกิจชุมชนกลุ่มนาเมืองไทยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่เน้นขมิ้นชั้นเป็นต้น
ขณะที่นางมะลิวัลย์ ผิวขาว ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาเมืองไทยสมุนไพรเพื่อสุขภาพ บอกว่า มีสมาชิกทั้งหมด 22 คน ปลูกสมุนไพรเป็นอาชีพเสริมรองจากทำสวนยางพารา ปลูกกันครอบครัวละ 1-2 ไร่ เฉพาะบริเวษที่ทำการของกลุ่มนั้นปลูกสมุนไพรนับร้อยชนิด แต่ที่เน้นจริงคือ ไพร ขมิ้นชั้น หว่านชักมดลูก และมาเพิ่มกระชายดำ โดยขมิ้นชั้นและไพรนั้นส่วนหนึ่งผลิตส่งให้โรงพยาบาลอุดรธานี โรงพยบาลน้ำโสม โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง และโรงพยาบาลภูแก้ว อีกส่วนหนึ่งแปรรูเอง อาทิ ขิงขัดผิวมะขาม น้ำผึ้งป่า ผงขมิ้นชั้น 100 % ไวน์กล้วย กระชาดำยอบน้ำผึ้ง ยาม่อง น้ำมันไพร เป็นต้น(รายละเอียดตามในคลิป)