เริ่มแล้วที่อีสานตอนบน ชี้ทางให้เกษตรกรรวยจากเอฟทีเอ

  •  
  •  
  •  
  •  

       วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 มีการสัมมนา “ชี้ช่องทางรวยจากเอฟทีเอ” เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดำเนินจัดโครงการ “การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี ครั้งที่ 1”ณ  โรงแรมเซ็นทารา และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี โดยมี นายอาทิตย์ นิธิอุทัย  รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดงานและมีว่าที่ร้อยตรีสมพูลทรัพย์ กล้าวิกรณ์  เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติมาร่วมงานด้วย

            สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้ มุ่งพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร ตั้งเป้าหมายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนทั้งสมุนไพร การแปรรูปยางพารา ไม้ดอกไม้ประดับ และผลไม้ ที่จะมุ่งเน้นตลาดอาเซียน พร้อมยกระดับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อขยายการส่งออกและจำหน่ายภายในประเทศ

            นายอาทิตย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสิ้นค้าไทยมีจำนวนมากที่มีปัญหาด้านการตลาด ทั้งที่ความเป็นจริงผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่ามหาศาล ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีหน้าที่เจรจากับประเทศต่างเพื่อขยายช่องสินค้าเกษตรของไทย จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อร่วมมือในการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้าใจเรื่องความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ)

         โดยในปีงบประมาณ 2562 มีเป้าดำเนินโครงการ “การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี ”  จำนวน 6  ครั้ง ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  และเริ่มที่จังหวัดอุดรฯเป็นแห่ง พบว่าทางสภาเกษตรกรได้นำเกษตรกรที่สนใจมาร่วมในงานจำนวนมาก แม้ว่าจากการพบปะกับเกษตรกรพบว่าเกษตรกรเข้าระบบการค้าเสรีไม่มากนัก แต่โครงการนี้เชื่อว่าเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย  (รายละเอียดในครลิป)

           ด้านว่าที่ร้อยตรีสมพูลทรัพย์  กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคการเกษตรไทยประสบปัญหาด้านการตลาดมาตลอด และการร่วมมือกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็เป็นอีกช่องทางที่จะพัฒนาด้านตลาดของสินค้าเกษตรในรูปแบบของการแปรรูป โดยทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเป็นผู้หาตลาด ทางสภาพเกษตรกรฯจะได้ชี้แจงให้เกษตรกรทราบว่า ปัจจุบันตลาดต้องการอะไร

          อย่างไรก็ตามต้องยอมรับปัจจุบัน มีความเข้าใจในเรื่องของการค้าเสรีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรในรูปแบบของต้นน้ำคือเน้นการผลิต และขายในรูปแบบของผลผลิต จากไปเป็นหน้าของสภาเกษตรกรฯที่ต้องชี้แจงให้กับเกษตรมีความเข้ามากขึ้น เพราะปัจจุบันโลกเปลี่ยนแล้วเกษตรกรต้องเปลี่ยน มาเน้นพัฒนาสินค้าเกษตรตามที่ตลาดต้องการ