ไทยจับมือ FAO- ญี่ปุ่น หาทางลดความสูเสียตลอดห่วงโซ่ของการเกษตร-อาหาร

  •  
  •  
  •  
  •  

ไทยร่วมมือ FAO และญี่ปุ่น หาแนวทางการลด การสูญเสียตลอดห่วงโซ่ของการเกษตรและอาหาร ” Food Waste and Loss” มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

           นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดตัวโครงการ Capacity Building to Reduce Avoidable Food Waste in Micro, Small and Medium Food Processing Enterprises and in Retail ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต ว่า โครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทยและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของประเทศญี่ปุ่น มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 4 ปี (2560 – 2564) โดยดำเนินการในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในที่จะการลดการสูญเสียในกระบวนการเพาะปลูก การเลี้ยง การขนส่ง การแปรรูป การเก็บรักษา หรือตลอดห่วงโซ่ของการเกษตร จนเป็นอาหารสำเร็จพร้อมส่งเพื่อการบริโภค ( Food Waste and Loss) ในเกษตรกรรายย่อย วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทย ในทุกกระบวนการตั้งแต่การแปรรูป การกระจายสินค้า และการค้าปลีก เพื่อนำไปประกอบการจัดทำคู่มือการลด Food Waste and Loss และให้ภาคธุรกิจนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาและเผยแพร่ไปยังภูมิภาคอื่น

           การดำเนินโครงการนี้ FAO จะทำการสำรวจศึกษาข้อมูลและรายงานปัญหาที่ทำให้เกิด Food Waste and Food Loss ในกลุ่มเป้าหมายของประเทศไทย และจะนำข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นเอกสารคู่มือการลด Food Waste and Loss ให้แก่เกษตรกรรายย่อย วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมทั้งจัดรูปแบบโปรแกรมการฝึกอบรม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนำไปปฏิบัติ และให้คำแนะนำในการจัดทำ Draft National Strategy for Food Waste Reduction

        อย่างไรก็ตาม “ความจำเป็นต้องทำให้มีอาหารเพียงพอและบริโภคอาหารอย่างสมดุล” นั้น ในอีกทางหนึ่งต้องเกิดจากระบบการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่งสินค้าและการบริโภคอาหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลด Food Loss และ Food Waste ใน Value Chain ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารอันดับต้นของโลก เป็นประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและตั้งเป้าหมายการเป็นครัวของโลก จำเป็นต้องให้ความสำคัญและสร้างจิตสำนึกอันเข้มแข็งสำหรับการจัดการ Food Loss และ Food Waste ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วน

          “ปัญหาเรื่องความอดอยากหิวโหยเป็นเรื่องสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสในฐานะทูตพิเศษด้านขจัดความหิวโหยสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ต่อที่ประชุมสมัชชาเอฟ เอ โอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เมื่อเดือนเมษายน 2561 ที่ผ่านมา โดยพระองค์ทรงเน้นย้ำว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมกันทำงานเพื่อหาแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน มีความจำเป็นต้องทำให้มีอาหารเพียงพอและบริโภคอาหารอย่างสมดุล และจะทรงสนับสนุนงานที่จะช่วยทำให้บรรลุเป้าหมายการนำไปสู่การขจัดความหิวโหย โดยขอให้ร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีผู้อดอยากหิวโหยและมีสุขภาพที่ดีต่อไป” นายระพีภัทร์ กล่าว

[adrotate banner=”3″]

          นอกจากนี้ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นในขณะนี้ จึงมุ่งหวังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไม่ช้า เนื่องจากมั่นใจว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับความช่วยเหลือ เเละฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพปกติ โดยประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้