เริ่มแล้วมหกรรมสมุนไพรและอาหาร ครั้งที่ 3

  •  
  •  
  •  
  •  

กระทรวงเกษตรฯ นำทัพจัดงานมหกรรมสมุนไพรและอาหาร ครั้งที่ 3 ภายใจ้แนวคิด “กินเปลี่ยนวัย กินอย่างมั่นใจ ด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน”เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

            นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานพิธีเปิดงานมหกรรมสมุนไพรและอาหาร ครั้งที่ 3 “กินเปลี่ยนวัย กินอย่างมั่นใจ ด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน” ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่าย ว่า การจัดงานมหกรรมสมุนไพรและอาหาร ครั้งที่ 3 “กินเปลี่ยนวัย กินอย่างมั่นใจ ด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ฮอลล์ 7 – 8

        

         งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนต่อทุกภาคส่วน ให้เกิดการรับรู้นโยบายและเกิดกระแสความสนใจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก่อให้เกิดการขยายผลของการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้สมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง สามารถนำพืชผัก สมุนไพรใกล้ตัว มาใช้ประโยชน์ทั้งเป็นอาหารและยาได้

              สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการซึ่งนำเสนอโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ 28 จังหวัดนำร่อง สวนสมุนไพรชะลอวัยดูแลสุขภาพร่างกาย กิจกรรม Workshop สมุนไพรและการดูแลสุขภาพ การอบรมระยะสั้นมากกว่า 50 หลักสูตร แจกพันธุ์สมุนไพรหายากวันละ 300 ต้นและหนังสือสมุนไพรวันละ 200 เล่ม บริการตรวจ ให้คำปรึกษาสุขภาพกับแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน หมอพื้นบ้าน อีกทั้งยังมีการจำหน่ายสินค้าสมุนไพรคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารสุขภาพ และอาหารพื้นถิ่น เป็นต้น

[adrotate banner=”3″]

             นอกจากนี้ กษ. ยังได้ร่วมดำเนินโครงการ “โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย” โดยจัดหาวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีให้กับผู้ป่วย ซึ่งโรงพยาบาลจะรับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากกลุ่มเกษตรกร และจัดตลาดจำหน่ายสินค้าปลอดสารเคมี เพื่อให้บุคลากรและประชาชนเข้าถึงอาหาร ผัก ผลไม้ สมุนไพรที่ปลอดภัย สนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตรายย่อยให้มีตลาดใกล้บ้าน ขณะนี้ ดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปครบทั้ง 116 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนมากกว่าร้อยละ 50 และจะพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบเขตสุขภาพละ 1 แห่ง เพิ่มสัดส่วนของผักผลไม้อินทรีย์ให้มากกว่าร้อยละ 30 อีกร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ผักผลไม้ปลอดภัย อีกทั้งเพิ่มชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารปลอดภัย เช่น เนื้อสัตว์ น้ำมัน เครื่องปรุงทุกชนิดด้วย