พลิกวิกฤษดินเค็มให้เป็นโอกาส เปลี่ยนอาชีพใหม่ชุบชีวิตเกษตรกร
โดย…ดลมนัส กาเจ
ทุกปีผมได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการสัมมนาในฐานะสื่อมวลชน เกียวกับการแก้ปัญหาดินเค็มในภาคอีสาน ปีนี้ก็ได้เข้าการประชุมวิชาการ “วันดินโลก รวมศาสตร์ของพ่อ เชื่อมต่อดินมีปัญหา น้อมนำวิถีราชา ต่อต้านการแปรสภาพดินเป็นทะเลทราย” จัดโดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จังหวัดขอนแก่น ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่นเมื่อเร็วๆนี้
ในการประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีการจัดเวทีเสวนาเรื่อง “ ศาสตร์พระราชากับการแก้ปัญดินเค็ม” ด้วย ซึ่งหลายท่านมีวิสัยทัศน์ฟังแล้วน่าสนใจ ซึ่งในการกัปัญหายุคใหม่ ไม่ได้เน้นในด้านการต่อสู้เพื่อให้ดินเพื่อให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ หากมีแต่การมองอย่างบูรณการ อาทิควรวิจัยพันธุ์พืชให้ปลูกในดินเค็ม หรือปลูกพืชที่ชอบดินเค็ม รวมถึงด้านการประมงและปศุสัตว์
ถ้าดูข้อมูลแล้วพบว่าประเทศไทยนั้น อดีตประสบปัญหาดินเค็มกว่า 21 ล้านไร่ ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน ถึง 17.81 ล้านไร่ ในพื้นที่ 18 จังหวัด 94 อำเภอ จากพื้นที่ของภาคอีสานทั้งหมด 107 ล้านไร่ และในจำนวนนี้มีพื้นที่ดินเค็มมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ร้อยเอ็ด จ.สกลนคร จ.มหาสารคาม และจ.ขอนแก่น แต่การแก้ปัญหานั้นเป็นการสู้กับความเค็มเพื่อให้เพาะปลูกได้ แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยน เกษตรกรต้องเปลี่ยน กล้าเปลี่ยนวิวิถีที่ชีวิต และอาชีพใหม่ที่เหมาะสมกับดินเค็มนั่นเอง
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านวิชาการ บอกว่า ดินเค็มในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคอีสานมีหลายระดับ เค็มน้อย เค็มมาก และเค็มจัดปลูกอะไรไม่ได้เลย ฉะนั้นในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากดินที่มีอยู่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้อย่างมั่นคง จำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่จากเดิมที่เน้นการทำนา
[adrotate banner=”3″]
การทำอาชีพใหม่มองอยู่คือปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับเดินเค็ม เปลี่ยนจากพืชเก่าที่เคยปลูกมีผลผลิตน้อย รายได้ต่ำมาปลูกพืชชนิดใหม่ จากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นพืชผสมผสาน เปลี่ยนจากการปลูกพืชมาเลี้ยงสัตว์ และที่มีแหล่งน้ำมาทำการประมง (รายละเอียดตามคลิป)
นับเป็นอีกทางหนึ่งที่จะสามารถฝ่าวิกฤตดินเค็มให้เป็นโอกาสเพื่อเกษตรกรมีความอยู่ดีกินดีขึ้น และหากดำเนินการอย่างจังจริงสามารถที่ได้ด้วยแต่อาจใช้เวลาบ้าง