โดย…ดลมนัส กาเจ
“หลังจากที่ได้ร่วมงานกับทางทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์หมอนขิดเป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เพราะทางบริษัททเวนตี้โฟร์ จะมีทีมงานคอยให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จะให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง”
ตลอดระเวลากว่า หลังที บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (ซีพี ออลล์) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย แตกไลน์ เปิดธุรกิจใหม่ “บริการ สั่งจองและจัดจำหน่ายสินค้า” ในนาม “บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง”เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2557 เพื่อเปิดช่องทางจำหน่ายสินค้าจากประกอบการเอสเอ็มอีถึงผู้บริโภค เวลาผ่านไปกว่า 4 ปี มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายผ่านทเวนตี้โฟร์ช้อปปิ้งกว่า9,000 รายการ มาถึงวันนี้ “ซีพี ออลล์” ยังตอกย้ำนโยบายส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อย เดินหน้ายกระดับเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง
[adrotate banner=”3″]
ผลิตภัณฑ์ “แม่แย้มหมอนขิด” ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไทยในภาคอีสาน จากชุมชนบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ก็อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายผ่านช่องทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ทำให้วันนี้ยอดจำหน่ายพุ่งขึ้นถึง 5 แสนบาท แต่ด้วยที่เจ้าของ “แย้ม จันใด” เจ้าของผลิตภัณฑ์ “แม่แย้มหมอนขิด” มีความมานะ ตั้งใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้ “แม่แย้มหมอนขิด” คว้ารางวัลเซเว่น อีเลฟเว่นเอสเอ็มอีไทยยั่งยืน 2560
แย้ม บอกว่า เกิดมาในหมู่บ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร มาแต่กำเนิด และเห็นบรรพบุรุษยึดอาชีพผลิตหมอนขิดเป็นอาชีพเสริมอยู่แล้ว เพราะทำกันทั้งหมู่บ้าน ทั้งที่ทำเองรับจ้างคนอื่น เธอเองพอเริ่มโต และเรียนหนังสือภาคบังคับในหมู่บ้าน พอเลิกเรียนก็จะไปรับจ้างทำหมอนขิด หารายได้พิเศษ กระทั่งแต่งานแล้วมีอาชีพหลักคือทำนา หลังทำนามารับจ้างทำหมอนขิด เพื่อหารายได้เสริมแก่ครอบครัว
“พูดถึงหมอนขิดบ้านศรีฐาน ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นชีวิต ของคนในหมู่บ้านมีความผูกพันธ์กับหมอนขิดมาตั้งแต่วัยเด็กเมื่อมีความรู้และฝีมือในการทำหมอนขิดอยู่แล้วพอว่างจากการทำไร่ทำนา ฉันและสามีก็จะรับจ้างผลิตหมอนขิด ตั้งแต่การเย็บ การสอย ขึ้นรูปตามแบบที่เตรียมไว้ ไปจนถึงการบรรจุนุ่นให้เป็นรูปทรงสวยงาม และเงินที่ได้มานอกจากจะเพื่อการยังชีพแล้วยังเก็บไว้เป็นทุนการศึกษาของลูก 2 คนให้มีโอกาสทางการศึกษาสูงๆ ขั้น” แย้ม เล่าครั้งหนึ่งชีวิตก่อนจะมาเป็นเถ้าแก่เองในวันนี้
ในปี 2542 ครอบครัวของ แย้ม เริ่มเปลี่ยนและยกฐานะตัวเองจากคนรับจ้างทำหมอนขิด สู่เส้นทางเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หมอนขิดเอง ภายใต้เครื่องหมายการค้า “หมอนขิดแม่แย้ม” หลังจากที่เธอมองว่า หมอนขิดจากบ้านศรีฐานเป็นที่ต้องการของตลาด มีบรรดาพ่อค้าต่างมุ่งหน้าสู่บ้านศรีฐาน เพื่อนำหมอนขิด ไปขายต่อ จึงมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้ครอบครัว จึงหันมาผลิตหมอนขิดขายเองและจ้างแรงงานในท้องถิ่นมาช่วยกันทำ แรกๆเริ่มเริ่มจากหมอนหนุน เบาะนั่ง และเบาะสามเหลี่ยมขายได้ช่วงแรกๆวันละ 2,000-3,000 บาท จากนั้นยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆกว่า 10 ชนิด
“ในบ้านเราที่ศรีฐานทุกคนทำหมอนขิดเป็นกันอยู่แล้ว เลยมองว่าใครมีความถนัดด้านเย็บ สอย หรือบรรจุนุ่น ก็รับวัสดุอุปกรณ์กลับไปทำที่บ้าน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมุ่งเน้นผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีหลากหลายรูปแบบ ประณีตสวยงาม สินค้าจึงได้รับเลือกให้เป็นโอทอป 4 ดาวทำให้ได้รับความนิยมจากลูกค้าซื้อไปใช้สอยในครัวเรือนใช้ในงานบุญ งานบวช และเป็นของฝากส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น” แย้ม เล่า
การการันตีสินค้าโอท็อป 4 ดาวระดับจังหวัด ทำให้โอกาสทางการตลาดของ “หมอนขิดแม่แย้ม” เริ่มมากขึ้น จากที่เคนขายหน้าบ้านที่ศรีฐาน เริ่มออกงานแสดงสินค้าโอท็อปทั่วประเทศ สิ่งที่ตามมาคนรู้จักมากขึ้น ออเดอร์ เริ่มมากขึ้น จนกลายเป็นผู้ผลิตตามออเดอร์ ที่พ่อต้าสั่งมาเพื่อไปขายต่อ บางรายนส่งออกไปยังต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน กัมพูชา และลาว
ช่วงจังหวะลูกชาย “กฤษณพง์ จันได”จบปริญญาตรีมาพอดี จึงมาช่วยสานต่อธุรกิจ ดูแลเรื่องการขายการตลาด ตระเวนออกบูธขายสินค้าตามงานโอทอป และในระหว่างที่ออกงานโอทอปที่เมืองธานี มีโอกาสได้เจอทีมงานของภาครัฐและจากบริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด บริษัทในกลุ่มซีพีออลล์ แนะนำให้มาขายผ่านนิตยสารทเวนตี้โฟร์ แคตตาล็อก จึงนำหมอนสามเหลี่ยมขิด หมอนสามเหลี่ยมขิดช่องเดียว เบาะรองนั่ง เข้ามาจำหน่ายและได้รับผลตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ปัจจุบันได้ขยายผลิตภัณฑ์ที่ขายผ่าน ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้งรวมแล้ว 6-7 รายการ คือเพิ่มหมอนหนุนเพื่อสุขภาพ หมอนรองคอ ที่นอนพับ และที่นอนระนาด เป็นต้น
“ตอนนี้เรามีเพื่อร่วมงานในหมู่บ้านที่มาช่วยกันทำ โดยจ้างเป็นรายเหมา ทำให้ชาวบ้านมีงานทำกว่า 30 คน เพื่อผลิตหมอนขิดป้อนให้ลูกค้า ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีจำหน่ายตกเดือนละกว่า 5 แสนบาท ปัจจุบัน เราจำหน่ายที่บ้านศรีฐาน ร้านแม่แย้มหมอนขิด ตลาดไอยรา พลาซ่า จ.ปทุมธานี และจ.เลย” เจ้าของ “แม่แย้มหมอนขิด” กล่าว
ทุกวันนี้ แย้ม บอกว่า หลังจากที่ได้ร่วมงานกับทางทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์หมอนขิดเป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เพราะทางบริษัททเวนตี้โฟร์ จะมีทีมงานคอยให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จะให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง ได้เรียนรู้ถึงระบบการบริหารจัดการ การศึกษากลุ่มผู้บริโภค การประเมินความต้องการของผู้บริโภค การบริหารสต๊อกสินค้ารวมไปถึงงานเอกสารต่างๆ และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้รับรางวัลเซเว่น อีเลฟเว่นเอสเอ็มอีไทยยั่งยืน 2560 ประเภทผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งรู้สึกภูมิใจกับรางวัลนี้และยังเป็นกำลังใจให้ตนตั้งใจผลิตสินค้าดีมีคุณภาพต่อไป
ด้าน อำพา ยงพิศาลภพ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด บริษัทในกลุ่มซีพีออลล์ กล่าวว่าบริษัทมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าทั่วไปและสินค้านวัตกรรมจากผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่นิยมจากประชาชนโดยบริษัททำหน้าที่เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้เพื่อส่งตรงถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านช่องทางที่หลากหลายของทเวนตี้โฟร์ช้อปปิ้งอาทินิตยสารทเวนตี้โฟร์แคตตาล็อก, เว็บไซต์www.24catalog.com, www.shopat24.com,www.amulet24.com,แอปพลิเคชัน,ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ช้อปปิ้งสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง
“ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายผ่านทเวนตี้โฟร์ช้อปปิ้งกว่า9,000 รายการโดยบริษัทได้ช่วยสนับสนุนด้วยการเข้าไปร่วมพัฒนาสินค้าและบริการร่วมกับผู้ประกอบการรายย่อยตลอดจนเป็นช่องทางการขายตั้งต้นให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ตลาดและการจัดการด้านค้าปลีกทันสมัย เพื่อต่อยอดในการขยายตัวไปยังช่องทางอื่นๆอีกทั้งจัดให้มี Store Hub เพื่อให้ฝากส่งสินค้าที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นสาขาต่างๆเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า รวมถึงผลักดันเอสเอ็มอีไปสู่ตลาดเอเชียขายสินค้าให้ลูกค้าชาวจีนและลาว ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้เอสเอ็มอีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน” นายอำพากล่าว
ส่วน นิตย์ จันได สาวใหญ่วัย 39 ปี บอกว่า เป็นชาวศรีฐานโดยกำเนิด มีอาชีพหลัก ทำนาในพื้นที่ทำกิน 20 ไร่ แบ่งปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อขาย และข้าวเหนียวไว้บริโภคเอง 3 ไร่ แต่การทำนาในปัจจุบันเน้นจ้างเครื่องจักรกลการเกษตรมากกว่า พื้นที่ 20 ไร่ใช้เวลาทำนาไม่เกิน 7 วัน ส่วนเวลาว่าง จะมารับจ้างเย็บหมอนขัดให้ แม่แย้ม จะมีรายได้วันละราว 250 บาท ถือว่ารายได้ดีอยู่กับบ้าน ทุกวันนี้เงินขายข้าวได้เป็นก้อนเป็นโบนัส รายปี ส่วนค่าใช้จ่ายรายวันมาจากรับจ้างทำหมอนขิด มีรายได้เฉลี่ยทั้งปีมากกว่าทำนาเสียอีก
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีท่านใดที่สนใจนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายผ่านทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง สามารถติดต่อได้หลายช่องทางผ่านเว็บไซต์www.24catalog.com, www.Shopat24.com และ Call Center 02-780-7666ตลอด 24 ชั่วโมง