“คุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียด”งานวิจัยมก.สู่การค้าแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  


มหาวิทยาลัยเกษตรฯลงนามเอ็มโอยูกับเอกชน ” เอฟเวอร์ เนเจอร์”   ให้สิทธิใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัย “สูตรและวิธีการผลิตคุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียด”  เพื่อต่อยอดเป็นนำไปใช้ในเชิงธรกิจ ในการผลิตคุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียด 3 รสชาติ ” คุกกี้ทุเรียน – คุกกี้กล้วยหอม -คุกกี้มะม่วงสุก”  มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี

 

           เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2561 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานพิธีลงนามระหว่าง บริษัท เอฟเวอร์ เนเจอร์ จำกัด  ให้สิทธิใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัย “สูตรและวิธีการผลิตคุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียด”   ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายสินค้านวัตกรรมที่ทำจากธรรมชาติ และมีความสนใจใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสูตร และวิธีการผลิตคุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียด จำนวน 3 รสชาติ ได้แก่ คุกกี้ทุเรียน คุกกี้กล้วยหอม และคุกกี้มะม่วงสุก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตกลงอนุญาตให้สิทธิใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันลงนามข้อตกลง

         ดกร.จงรัก กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เป็นสถาบันชั้นนำในการส่งเสริมให้บุคคลากรของมหาวิทยาลัยสร้างงานวิจัยที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะให้ภาคเอกชนสามารถนำไปใช้และพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยในการพัฒนาผู้ประกอบการของประเทศให้มีความเข้มแข็ง

          สำหรับผลงานวิจัย “สูตรและวิธีการผลิตคุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียด” เป็นผลงานวิจัยของ นางจันทร์เพ็ญ แสงประกาย นักวิจัยชำนาญการพิเศษ และดร.อรไท สวัสดิชัยกุล นักวิจัยชำนาญการ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนาปรับปรุงสูตรและกรรมวิธีการผลิตคุกกี้เนยชนิดแข็งที่มีผลไม้สดเนื้อนิ่มเป็นวัตถุดิบหลัก

           ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คุกกี้ผลไม้ที่ยังคงกลิ่นรสของผลไม้ไว้ให้มากที่สุด โดยตอบโจทย์แก้ปัญหาการนำผลไม้สดมาใช้เป็นส่วนผสมหลักให้สามารถผลิตคุกกี้ที่ยังคงมีกลิ่นและรสชาติของผลไม้ที่ดีและมีลักษณะทางกายภาพที่ดี คือ รูปร่าง สีเหมาะสม และเนื้อสัมผัสที่มีความกรอบคงทน มีอายุการเก็บที่ยาวนานขึ้น และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ ปราศจากไขมันทรานส์ (tran fat) ซึ่งให้โทษต่อร่างกาย กลายเป็นคุกกี้ชนิดแข็งจากผลไม้บดละเอียดที่ดีต่อสุขภาพชนิดใหม่ถูกใจผู้บริโภคต่อไป