โป๊ะใบมะพร้าว ล่อปลากระบอกชายฝั่ง ภูมิปัญญาชาวเลโบราณ วันนี้ยังมีอยู่

  •  
  •  
  •  
  •  

บังดล คนเดิม

หากใครไปเดินเล่นชายทะเลโดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง เดือนเมษายน-กรกฎาคม เป็นคลื่นเงียบจากลมตะวันตกเฉียงใต้ เราจะแลเห็นใบมะพร้าวถูกปักไว้ตลอดแนวชายฝั่ง ที่มีน้ำลึกราวต้นขา เรียกว่า “โป๊ะ” ทำจากใบมะพร้าวแห้ง ใช้สำหรับล่อปลากระบอกให้เล่นกันใต้โป๊ะ  จากนั้นชาวจะทอดแหครอบโป๊ะเพื่อจับปลากระบอกเป็นอาหาร

โป๊ะทำจากใบมะพร้าวแห้งเป็นภูมิปัญญาของชาวเลมาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็มีอยู่เพราะได้ผลจริงๆ ที่ชาวเล หรือชาวประมงพื้นบ้าน ใช้สำหรับจับปลากระบอกในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ฝั่งทะเลอ่าวไทย คือทิศทางของลมจะมาจากด้านบนของทิศจะวันตกเฉียงใต้ หรือมาจากด้านบนของชายฝั่งพัดผ่านไปสู่กลางทะเลทะเลทำให้คลื่นเรียบ ปลากระบอกจะมาเล่นตามชายฝั่ง ชาวบ้านจึงทำโป๊ะจากใบมะพร้าวแห้งไปปักไว้ให้ฝูงปลากระบอกมาเล่นกัน

วิธีทำง่ายมาก (ดูในภาพช่วงน้ำลง) ไปหาใบมะพร้าวแห้งที่ร่วงล่นจากต้น มาตัดโคนก้านตรงที่ใบย่อยแผ่ออกมา แล้วมาตัดช่วงท้ายอีกให้ยาวราว 1.5 เมตร จากนั้นนำของแข็ง ส่วนใหญ่จะใช้ไม้สักเบือขนาดใหญ่ที่ใช้ตำข้าว หรือตำกะปิ มาทุบห่างจากส่วนบนไปทางโดนราว 0.5 เมตร ให้ก้านอ่อน ส่วนท้ายใบยาว 1  เมตร

จากนั้นหักตรงที่ทุบให้งอ เป็นฉาก 90 องศา แล้วไปปักในทะเลตามชายตามชายที่มีน้ำลึกราวต้นขา ด้านหัวปักลงดิน ส่วนที่เหลือให้แผ่บนน้ำ พอตกเย็นช่วงพระอาทิตย์จะตกดินปลากระบอกจะยกฝูงมาเล่นกันใต้โป๊ะ ชาวบ้านจึงทอดแห บางครึ่งจุดเดียวจะได้ปลากระบอก 10-50 ตัว (มีคลิบประกอบเสียไม่ได้ช่วงจังหวะที่หาปลา)