กินผัก ผลไม้ อาหารเสริมภูมิต้านทาน กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย

  •  
  •  
  •  
  •  

อาหารเสริมภูมิต้านทาน กินให้ได้ทุกวัน ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย         

ทุกวันนี้เราเผชิญกับความเสี่ยงต่อสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะเป็นเกราะป้องกันให้เรารอดจากภัยสุขภาพต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

          ชีวิตต้องสู้ทั้งฝุ่น ทั้งไวรัส และในอนาคตก็ไม่รู้จะมีเชื้อโรคอะไรอีกไหมที่ต้องระวัง เรียกได้ว่าเราอยู่บนความเสี่ยงแบบที่อาจจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะป้องกันหรือดูแลตัวเองไม่ได้ซะทีเดียว เพราะหากร่างกายเราแข็งแรง ภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคใด ๆ ก็ตาม โอกาสที่จะป่วย หรือป่วยหนักจนอันตรายก็จะลดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นคงจะดีที่สุดหากเราจะเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานอย่างขยันขันแข็ง 
ชาเขียว
ชาเขียว
ชาเขียวมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เคทิชิน (Catechins) ซึ่งมีคุณสมบัติเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ควรดื่มชาเขียวร้อน ที่ไม่ผสมน้ำตาล หรือมีน้ำตาลในปริมาณน้อยที่สุด อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว จะช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ 
ขิง
ขิง
          ขิงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็มีประโยชน์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อีกทั้งสารจิงเกอร์รอลในขิงยังมีสรรพคุณลดโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นใครไม่อยากเป็นหวัดบ่อย ๆ ก็กินขิงต้านหวัดได้นะ

ขมิ้น

ขมิ้น
          สมุนไพรที่รู้จักกันดีอย่างขมิ้นก็มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และลดการอักเสบในร่างกาย นอกจากนี้ขมิ้นยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ตะไคร้

ตะไคร้
          สายสมุนไพรต้องถูกใจสิ่งนี้แน่ เพราะตะไคร้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จะเอาไปคั้นน้ำหรือนำมาประกอบอาหารก็อร่อยไปหมด ส่วนในด้านสรรพคุณของตะไคร้ก็เจ๋งไม่เบา ทั้งช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ หรือจะไล่ไข้หวัดก็ได้ เพราะตะไคร้เป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน
กระเทียม
กระเทียม
          กระเทียมมีสารอัลลิซินและซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณเสริมความแข็งแรงของภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ในตำรับยาสมุนไพรไทยยังบอกไว้ว่า กระเทียมมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยในกระเทียมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส อีกทั้งกระเทียมยังเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขยายทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้นอีกด้วย

พริก

พริก
       ใต้ความเผ็ดร้อนของพริกนั้นเต็มไปด้วยสารสำคัญที่ชื่อว่าแคปไซซิน สารตัวนี้มีสรรพคุณเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ทั้งยังช่วยเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ในพริกยังอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี บวกกับเบต้าแคโรทีนที่จะช่วยเสริมทัพให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อีกทาง       

ต้นอ่อนทานตะวัน

ต้นอ่อนทานตะวัน

          ในศาสตร์ของแพทย์แผนอายุรเวทโบราณนั้น ต้นอ่อนทานตะวันสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใ­จ นอกจากนี้ในต้นอ่อนทานตะวันยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกัน มีวิตามินบี 1 บี 6 วิตามินอี วิตามินซี และเซเลเนียม สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่ด้วย
เห็ดหอม

เห็ดหอม
          ความเด็ดของเห็ดหอมไม่ได้อยู่ที่รสชาติเท่านั้น แต่ในเห็ดหอมยังมีเบต้ากลูแคน ที่จะทำหน้าที่ไปจับกับผนังเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่มความสามารถในการเคลื่อนตัวไปดักจับเชื้อโรคแปลกปลอมในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เห็ดชนิดต่าง ๆ
เห็ดชนิดต่าง ๆ
          ใครไม่ชอบกินเห็ดหอมก็อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะในเห็ดแทบทุกชนิดก็มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ เนื่องจากในเห็ดชนิดต่าง ๆ มีสารสำคัญมากมาย โดยเฉพาะโพลิแซคาไรด์ สารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวได้ดี และเห็ดชนิดอื่น ๆ ก็มีสารเบต้ากลูแคนอยู่ด้วยเหมือนกัน

โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว

โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว
          ในโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวจะมีจุลินทรีย์และโตแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์ไม่ดีในระบบย่อยอาหาร เช่น แบคทีเรียบางชนิด รา หรือยีสต์ นอกจากนี้จุลินทรีย์ชนิดดีในโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวยังมีส่วนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวและแอนติบอดี้ เป็นอาวุธให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
บลูเบอร์รี
บลูเบอร์รี
          ในบลูเบอร์รีมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญนั่นก็คือ แอนโธไซยานิน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการศึกษาเมื่อปี 2016 ยังพบว่า สารฟลาโวนอยด์ในบลูเบอร์รีมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยจากการวิจัยก็พบว่า คนที่กินอาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์จะมีอัตราการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด น้อยกว่าคนที่ไม่กินอาหารที่มีฟลาโวนอยด์
ที่มาข้อมูล : Kapook.com