“อาหารสุขภาพ” มาแรง…โอกาสของคนอยากมีธุรกิจ

  •  
  •  
  •  
  •  

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพยังคงเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง ยังคงเป็นเทรนด์ที่คนอยากทำธุรกิจให้ความสนใจ แต่จะทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไรนั้น กลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

แนวโน้ม กระแสความตื่นตัวของคนไทยที่มีให้กับการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช พิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบที่ไม่ใช้สารเคมี

จากการสำรวจพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ซื้ออาหารพร้อมทานเพื่อสุขภาพมากกว่า สัปดาห์ละ 1 ครั้ง บางส่วนมีการซื้อเป็นประจำทุกวัน ที่สำคัญกลุ่มลูกค้า ยังยินดีจ่ายค่าอาหารที่ตรงนี้จึงเป็นโอกาสและช่องทางในการทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

สะท้อนจากข้อมูลจาก Euromonitor International ที่นำเสนอเกี่ยวกับตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของไทย ในปี 2560 เติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ 3.5 ต่อปีมูลค่าราว 187,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 2561 มีมูลค่า 191,893 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 2.8  ประมาณการณ์ว่าในปี 2565จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 213,099 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ต่อปี ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย มีส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเติบโต

นี่คือกลุ่มเป้าหมายหลักๆผู้ที่คิดจะทำธุรกิจอาหารสุขภาพต้องรู้

ส่วนการเริ่มต้นในช่วงแรกๆ อาจเปิดร้านเล็กๆ กลุ่มเป้าหมายเป็นคนในละแวกที่อยู่ใกล้เคียง หรืออยู่ในเขตชุมชนที่มีออฟฟิศเยอะๆ เมื่อคนติดใจก็จะบอกปากต่อปากกลยุทธ์การตลาดวิธีนี้ลงทุนน้อยสุด ง่ายสุดแต่ได้ผลที่สุด

ถ้ามีทุนน้อยและยังไม่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง อาจขายผ่านระบบออนไลน์ หรือผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น  Facebook, Instagram, LINE

ลองดูตัวอย่างคนที่เขา ทำจนประสบความสำเร็จว่าเขาทำกันอย่างไร อย่างเช่น โจนส์สลัด (Jones’salad) ที่เริ่มมาจากความมุ่งมั่นของ “กล้อง” อริยะ คำภิโล  ที่ขายสลัดเพื่อสุขภาพ ใช้เวลาไม่กี่ปีขยายสาขาไปแล้ว6สาขา น่าสนใจมากเพราะเกิดมาจากการที่คุณกล้องมีปัญหาเรื่องสุขภาพ อยากดูแลสุขภาพตัวเองและอยากจะแบ่งปันให้คนอื่นด้วย

น้ำสลัดแสนอร่อยสูตรโจนส์สลัด ที่เจ้าของร้านลงทุนบินไปฝึกวิทยายุทธ์ถึงออสเตรเลีย ใช้ผักจาก Jones’ Organic Farm ที่เชียงราย  ซึ่งปลูกแบบ ปลอดสารเคมี 100% ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

ความที่เป็นคนรุ่นใหม่ จึงใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจ Jones Salad ควบคู่ไปด้วยโดยทำการ์ตูนอินโฟกราฟิกเกี่ยวกับสุขภาพและตอบปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นคำถามที่เจอในเพจบ่อยๆ จนได้รับการตอบรับดีมากมีแฟนเพจติดตามนับล้าน เป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างน่าสนใจ

ร้าน Fit Food Always ของ”เชฟ เอฟ”คุณอภินันท์ เศวตวรรณกุล ได้นำประสบการณ์ในการครัวมาทำอาหารกล่องสีสันน่ารับประทาน แล้วโพสภาพอาหารผ่านทาง Social Mediaทำให้คนที่อาศัยในคอนโดเดียวกันเห็น แล้วตามมาด้วยการสั่งมาทาน

ปัจจุบัน Fit Food Always มีบริการคอร์สอาหารเพื่อสุขภาพพื้นฐานทั้งหมด 3 คอร์ส โดยแบ่งตามความต้องการของลูกค้า ทั้งทานเพื่อดูแลสุขภาพ เพื่อลดน้ำหนัก และเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่ละคอร์ส จะตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีการจัดทำ “โครงการผูกปิ่นโตข้าว” เพื่อให้ได้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ออแกนิก ให้ลูกค้าได้ทานเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจถึงคุณภาพได้ว่าอาหารทุกมื้อเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์

นอกจากนี้ สอนการทำอาหาร ทำให้ลูกค้าเห็นว่า Fit Food Alwaysใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ใส่ใจในทุกขั้นตอนการปรุงอาหารอย่างมีมาตรฐาน และมีนักโภชนาการมืออาชีพคอยให้คำแนะนำ กลยุทธ์นี้ถือเป็นการสื่อสารให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพอาหาร

สำหรับใครที่คิดจะลงมาลุยธุรกิจอาการเพื่อสุขภาพยังมีโอกาสและช่องทางอีกมาก ถ้าไม่อยากลงทุนตั้งร้านเอง ก็มีเฟรนไชส์อาหารสุขภาพมากมายให้เลือก เพียงแต่ต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อ

ที่มา : bangkokbanksme.com