ทุเรียนยืนต้นตาย นั่นแหละ“ไฟทอปธอร่า”เจ๊งแน่!…แต่มีทางแก้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย …บังดล  คนเดิม

            ช่วงนี้ฝนฟ้ากระหน่ำแรงมาหลายระลอกแล้ว ราวกับการต้อนรับเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก โดยเฉพาะข้าวนาปี ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีกับชาวนา ชาวสวนที่ไม่ต้องรดน้ำ กระนั้นบนความนิมิตหมายที่ดี แต่ก็ยังแอบแฝงความโชคร้ายของชาวสวนบางกลุ่ม โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียน หากฝนตกหนัก มีนำขัง จะกลายเป็นเพาะของเชื้อราที่เป็นศัตรูของต้นทุเรียนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ “เชื้อราไฟทอปธอร่า” (Phytophthora Palmivora)

            เชื้อราตัวนี้มันจะมาช่วงพฤษภาคม – ธันวาคมของทุกปี และเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดที่ชาวบ้านเรียกกันว่า  “โรครากเน่าและโคนเน่า” ซึ่งในปี 2560 ไฟทอปธอร่า ระบาดในสวนทุเรียนหลายแห่ง ทำให้ปีนี้ผลทุเรียนน้อยกว่า ปีที่แล้ว ทั้งที่พื้นที่ปลูกเพิ่ม

            ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  สำรวจล่าสุด (4 เม.ย.61) พบว่า พื้นที่ปลูกไม้ผลในภาคตะวันออก เพิ่มขึ้นจากปี 2560 เพิ่มขึ้น 1,142 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.17 มีพื้นที่ทั้งหมด 678,203 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นทุเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.56 อย่างอื่นลดลง เพราะโค่นเพื่อปลูกทุเรียน  แต่ปีที่แล้ว พื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นละ 4.32

            แปลกแต่จริง ในขณะที่ทุเรียนมีพื้นที่ปลุกขยายขึ้น แต่ผลผลิตกลับน้อยลงถึงร้อยละ 4.37 เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งอากาศหนาว ร้อน และฝนตกสลับในแต่ละวัน ทำให้ไม้ผลปรับสภาพต้นไม่ทัน อีกส่วนหนึ่งที่อันตรายมาก คือต้นทุเรียนประสบปัญหาเชื้อราไฟทอปเธอราที่ระบาดในปี 2560 ทำให้ทุเรียนเป็นโรครากโคนเน่ายืนต้นตายในพื้นที่กว้าง ทั้ง จ.จันทบุรีและตราด

[adrotate banner=”3″]

อาการการรากเน่า

เชื้อราไฟทอปธอร่า เป็นโรคที่ชาวสวนทุเรียนกลัวกันมาก หากมีสภาพอากาศชื้นสูง และน้ำท่วมขัง หากเชื้อราตัวนี้ระบาด ทางกรมวิชาการเกษตร แนะนำว่า ถ้ารากเล่าให้สังเกตุจะเห็นจากอาการเริ่มจากใบที่ปลายกิ่งจะมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง อาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาลและหลุดล่อนง่าย เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยัง รากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

โคนเน่า

      ส่วนอาการที่กิ่งและที่ลำต้นหรือโคนต้นเริ่มแรกทุเรียนจะแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่งและจะสังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกได้ชัดเจนในช่วงที่สภาพอากาศแห้ง เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบน้ำจะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะท้าให้ทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย

ป้องกันได้.

       กระนั้นก็ตามทุกปัญหาก็มีแนวทางแก้ “บังดล คนเดิม” ได้ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรนั่นแหละมาแนะต่อ คือ 1.แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขังและเมื่อมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก

2.ปรับปรุงดิน โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก,3.ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีแสงแดดส่องถึง และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น

      4.ต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ควรขุดออกแล้วน้าไปเผาท้าลายนอกแปลงปลูกตากดินไว้ระยะหนึ่ง จึงปลูกทดแทน

         อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการกำจัดแบบวิธีธรรมชาติ มีเชื้อราปฏิปักษ์กับเชื้อราชนิดนี้คือไตรโคเดอร์ม่า มาควบคุมเชื้อราไฟท๊อปธอร่าในดิน ด้วยการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาผสมกับรำข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. + รำข้าว 10 กก. + ปุ๋ยหมัก 50 กก. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน นำไปโรยรอบโคนต้น

พบการระบาดต้องกำจัด

            ต้องมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคน้าไปเผาท้าลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันก้าจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิ-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม

            ที่สำคัญต้องไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง

            เมื่อพบต้นที่ใบเริ่มมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาหรือใบเหลืองหลุดร่วง ให้ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40%เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้น อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น และ/หรือราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80 % ดับเบิลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิลยูพีอัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

          ขณะเดียวเมื่อพบอาการโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก ทาแผลด้วยสารป้องกันก้าจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรหรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ ลยูพี อัตรา 50-60กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วันจนกว่าแผลจะแห้ง

           อีกชนิดหนึ่งใช้ได้ คือฟอสโฟนิก แอซิด 40%เอสแอลผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าล้าต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรคหรือส่วนที่เป็นเนื อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น

          ฉะนั้นช่วงเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม เกษตรกรชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ที่หันมาปลูกทุเรียน อันเนื่องเห็นว่าราคาดีต้องระวังด้วย เพราะถ้าระบาดขึ้นมา ความหายนะย่อมเกิดขึ้นทันทีครับ!